วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย


การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน

นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

ภาพกิจกรรมภาษาสำหรับเด็ก



ภาษาเสริมความคิดสร้างสรรค์

มาช่วยกันเสริมสร้าง “ความคิดสร้างสรรค์” ให้เด็กไทยกันดีกว่า


โดย วิวรรณ สารกิจปรีชา

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน พ่อแม่ทุกคนมีความปรารถนาให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีอนาคตที่ดี มั่นคง แต่เศรษฐกิจของโลกและของประเทศต่างๆ ขึ้นลงไม่แน่นอนอยู่เป็นนิจ การทำงานใดๆ ในอนาคตจะต้องแข่งขันกันมากขึ้น แล้วอะไรที่จะช่วยลูกเราให้เดินไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ดีที่สุดหนอ? แน่นอนทักษะต่างๆในการทำงาน ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร ความสามารถในการเรียนรู้ ย่อมต้องถูกฟูมฟักให้ลูกๆของเราทุกคน แต่สิ่งที่จะทำให้ลูกของเราแตกต่างและโดดเด่น น่าจะเป็นในด้านความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด ถ้าเป็นพ่อค้าความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้สินค้าเป็นที่ต้องตา ต้องใจได้ดีมากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้ วิธีการขายจูงใจมากขึ้น ถ้าเป็นครูความคิดสร้างสรรค์จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กสนุก แปลกใหม่ และเด็กๆเรียนรู้ได้ดีขึ้น ถ้าเป็นเกษตรกรความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้สามารถเพิ่มผลผลิต และการขายผลิตผลจะดลใจผู้ซื้อมากขึ้น หรืออาจจะนำส่วนเหลือของผลิตผลหลักไปทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้มากขึ้นอีก จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กตั้งแต่ยังเล็ก แต่ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนมักจะอ้างว่าไม่มีเพียงพอ ทั้งๆที่ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ในทุกๆคน ปัจจัยที่ทำให้คนไทยหลายคนคิดว่าตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์พอ ก็คือ วิธีการเลี้ยงดูและการศึกษาแบบไทยๆ เด็กดีของผู้ใหญ่ในประเทศไทย คือเด็กที่เชื่อฟังผู้ใหญ่ เด็กที่ว่าง่าย และทำตามที่ผู้ใหญ่วางกรอบไว้ให้ เด็กที่ยกมือถามครูบ่อยๆ มักจะถูกครูตัดบทบาท เด็กที่ทำอะไรผิดไปจากสิ่งที่ครูให้ทำตามปกติถูกกล่าวหาว่าทำผิดหรือทำอะไรแผลงๆ เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้เติบโตในกรอบของคุณธรรม แต่ต้องไม่สกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ ไม่สกัดกั้นเสรีภาพที่จะคิด พูด ถามคำถาม ออกความเห็น และได้ลงมือทำในสิ่งที่ตนคิดไปเสียหมด

เด็กเล็กก่อนวัยเรียน มีความคิดสร้างสรรค์ติดตัวมาอยู่แล้ว มากบ้างน้อยบ้างตามศักยภาพของแต่ละคน Howard Gardner ได้กล่าวเมื่อมาเยือนประเทศไทยให้บรรดาครูฟังว่าเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ในช่วงก่อนวัยเรียนเด็กๆได้รับการสนับสนุนให้มีความคิดที่แตกต่าง เล่นอย่างเสรี และไม่ถูกสกัดกั้นที่จะทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป แต่เมื่อเด็กเติบโตและอยู่ในช่วงวัยเรียน เด็กๆถูกจำกัดในด้านการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ เพราะเด็กๆจะเข้าใจและจำในสิ่งที่ผู้ใหญ่บอกได้ว่าอย่างไหนถูกต้อง และทำอะไรอย่างไหนผิด ถ้าเมื่อใดปัญหาที่เกิดขึ้นมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว และกฎระเบียบทำให้การปฏิบัติตนของเด็กต้องดำเนินไปเหมือนกันหมด ความคิดสร้างสรรค์ก็จะถูกผลักห่างออกไป ดังนั้นผู้ใหญ่ควรตระหนักว่าความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ดีในบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์เท่านั้น มีวิจัยหลากหลายที่สรุปได้ว่าบรรยากาศที่ไม่มีกฎระเบียบมากเกินไป และบรรยากาศที่ยอมรับและยกย่องเสรีภาพจะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมาก

สำหรับเด็กเล็กแล้ว การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ควรมุ่งไปที่กระบวนการมากกว่าผลิตผลหรือตัวบุคคล เช่น การพัฒนาส่งเสริมความคิดที่แปลกใหม่ เป็นต้น ผู้ใหญ่ควรคิดแยกแยะความคิดสร้างสรรค์ออกจากความฉลาดและความสามารถพิเศษ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ฉลาดมาก และความคิดสร้างสรรค์ไม่มีปรากฏให้เห็นเฉพาะในดนตรี ศิลปะ หรือผลงานการเขียนเท่านั้น แต่ความคิดสร้างสรรค์มีปรากฏให้เห็นได้ในทุกวิชาที่มีกำหนดในหลักสูตร ทั้งในวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และอื่นๆ ในเด็กเล็กๆการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ควรเริ่มจากการส่งเสริมความคิดที่หลากหลาย และการแสดงออกตามความคิดต่างๆเหล่านั้นหลายวิธีเด็กๆควรได้รับการส่งเสริมให้ประเมินตนเองมากกว่าที่จะถูกประเมินโดยผู้อื่น เด็กๆควรรับรู้ว่า การแก้ปัญหาใดก็ตามไม่ได้มีเพียงวิธีเดียว เด็กๆควรได้รับการส่งเสริมให้สำรวจออกความเห็น ทดลองและแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลายด้วยตัวเด็กเอง บรรยากาศที่เด็กไม่กลัวว่าคำตอบของตนอาจจะผิด จะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

การให้รางวัลเพื่อจูงใจเด็กๆมักจะมีผลลบกับการคิดสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับการกำหนดกฎเกณฑ์ผิด-ถูกกับเด็กในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ใหญ่ต้องรับรู้ว่าเด็กต้องการการยอมรับคำตอบและ หรือความคิดเห็นที่เด็กเสนอ จากบุคคลรอบข้างทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อีกทั้งเด็กๆต้องได้รับโอกาสที่จะทดลองตามความคิดของตัวเองด้วย

การให้รางวัลไม่มีผลต่อการให้ความคิดเห็น แต่จะทำให้คุณภาพของคำตอบหรือการตอบสนองของเด็ก และการคิดที่แตกต่างไปจากแนวคิดที่มีอยู่ลดลง ความสามารถในการคิดเชื่อมโยงจากแนวทางหนึ่งไปยังอีกแนวทางหนึ่งจะลดลง เพราะเด็กอยากได้รับการชมเชยจึงคิดและเลือกที่จะตอบในเฉพาะแนวทางที่จะได้รางวัลเท่านั้น ดั้งนั้นการมีความต้องการด้วยตนเองที่จะคิดสร้างสรรค์ย่อมดีกว่าและควรได้รับการส่งเสริมมากกว่า ถ้าพวกกิจกรรมต่างๆที่เด็กได้ลงมือกระทำ สำรวจ สืบค้น ทดลองนั้น มีความหมายและเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เดิมของเด็กกับชีวิตประจำวันของเด็ก โอกาสที่จะช่วยให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ในสิ่งที่เกี่ยวพันกันระหว่างสิ่งต่างๆและวิชาต่างๆ หลายวิชาในหลักสูตรจะเพิ่มพูนขึ้นอย่างมาก การเรียนรู้แบบดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดที่หลากหลาย มีความคิดริเริ่ม และเรียนรู้อย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

การสำรวจ สืบค้น อย่างลึกซึ้งและไปได้เนิ่นนานกับงานที่เป็นลักษณะเปิดกว้าง ไม่จำกัดคำตอบที่ถูกต้อง จะช่วยส่งเสริมให้เด็กอยากเรียนรู้ และช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ดี ผู้ใหญ่ควรทำตนเป็นเสมือนผู้ให้การสนับสนุนตามความคิดของเด็ก เป็นผู้ตั้งคำถามปลายเปิด เป็นผู้ช่วยนำทางและทำงานเป็นสมาชิกของกลุ่มเด็กๆในการสำรวจสืบค้น ผู้ใหญ่สามารถรับรู้ได้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไรในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก ในการตอบสนองความคิดของเด็กๆ ในการรู้ว่าควรจะส่งเสริมสนับสนุนเด็กๆให้ทำสิ่งที่ท้าทายหรือเสี่ยงต่อความผิดพลาดเมื่อใด และจะไม่เข้าไปรบกวนเด็กๆเมื่อใดโดยการรับฟังเด็กๆอย่างตั้งใจและสังเกตอย่างละเอียด ผู้ใหญ่ควรจะตระหนักว่าจังหวะในการส่งเสริมและวิธีการส่งเสริมจะต้องเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์และพัฒนาการ ความสามารถของเด็กแต่ละคนเสมอ ดังนั้นความเอาใจใส่ของครูและผู้ปกครองจะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยของเราได้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

หนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1
งานวิจัยเรื่อง หนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1
ชื่อผู้วิจัย นางสาวกิจสนีย์ ศรีโสภา
นางสาวนิรดา ละว้า
นางสาวจริยา มงคล
โปรแกรมวิชา การศึกษาปฐมวัย
คณะ ครุศาสตร์
ปีที่วิจัย 2547

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับจากการฟังนิทานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งนี้ เป็นประชากรทั้งชายและหญิง จำนวน 175 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี จำนวน 6 ห้อง โดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง โดยใช้การเล่านิทานวันละ 2 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 5 วัน
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ หนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 จำนวน 10 เล่ม และประเมินหนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาอีกจำนวน 60 ชุด เพื่อใช้ในการทดสอบเป็นรายห้อง โดยใช้วิธีการเล่านิทานให้เด็กฟัง แล้วใช้เนื้อหานิทานที่เล่ามาใช้เป็นคำถามเด็กและให้ครูเป็นผู้ประเมินแบบสอบถาม
ผลการดำเนินการ พบว่า
1. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 ที่ได้รับฟังนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษามีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น
2. แบบประเมินหนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1 ผลการประเมินค่าเฉลี่ย 4.8 ซึ่งแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ยได้คือ มีค่ามากที่สุด หมายความว่า หนังสือนิทานผ้าเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาสำหรับเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1 มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง
< ก่อนหน้า ถัดไป >

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ภาษาของเด็กปฐมวัย

ภาษาพัฒนาการเรียนรู

ภาษา....พัฒนาการเรียนรู้
Posted by kroojho , ผู้อ่าน : 120 , 22:53:25 น. | หมวดหมู่ : บทความเด็ก ๆ
พิมพ์หน้านี้


บ่มภาษา..พัฒนาการเรียนรู้ภาษา คือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เพื่อบอกความต้องการและถ่ายทอดความรู้สึกของตัวเรา ช่วยทำให้ความคิดและจินตนาการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น สำหรับเจ้าตัวเล็กแล้ว ภาษายังถือเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่สำคัญ ทำให้เข้าใจพื้นฐานต่อสิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าก่อนอายุ 8 ปี สม....

ภาษาพัฒนาการเรียนรู

วันอาทิตย์ ที่ 20 เมษายน 2551
ภาษา....พัฒนาการเรียนรู้
Posted by kroojho , ผู้อ่าน : 120 , 22:53:25 น. | หมวดหมู่ : บทความเด็ก ๆ
พิมพ์หน้านี้


บ่มภาษา..พัฒนาการเรียนรู้ภาษา คือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เพื่อบอกความต้องการและถ่ายทอดความรู้สึกของตัวเรา ช่วยทำให้ความคิดและจินตนาการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น สำหรับเจ้าตัวเล็กแล้ว ภาษายังถือเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่สำคัญ ทำให้เข้าใจพื้นฐานต่อสิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าก่อนอายุ 8 ปี สม....

ภาษาพัฒนาการเรียนรู

ภาษา....พัฒนาการเรียนรู้
Posted by kroojho , ผู้อ่าน : 120 , 22:53:25 น. | หมวดหมู่ : บทความเด็ก ๆ
พิมพ์หน้านี้


บ่มภาษา..พัฒนาการเรียนรู้ภาษา คือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เพื่อบอกความต้องการและถ่ายทอดความรู้สึกของตัวเรา ช่วยทำให้ความคิดและจินตนาการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น สำหรับเจ้าตัวเล็กแล้ว ภาษายังถือเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่สำคัญ ทำให้เข้าใจพื้นฐานต่อสิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าก่อนอายุ 8 ปี สม....

ภาษาพัฒนาการเรียนรู

ภาษา....พัฒนาการเรียนรู้
Posted by kroojho , ผู้อ่าน : 120 , 22:53:25 น. | หมวดหมู่ : บทความเด็ก ๆ
พิมพ์หน้านี้


บ่มภาษา..พัฒนาการเรียนรู้ภาษา คือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เพื่อบอกความต้องการและถ่ายทอดความรู้สึกของตัวเรา ช่วยทำให้ความคิดและจินตนาการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น สำหรับเจ้าตัวเล็กแล้ว ภาษายังถือเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่สำคัญ ทำให้เข้าใจพื้นฐานต่อสิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าก่อนอายุ 8 ปี สม....

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551

รูป


ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย

การพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



พฤศจิกายน 2550

1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30








19 พฤศจิกายน 2550
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย






กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย


กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)

การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่จะให้ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมาย ต้องมีองค์ประกอบและการดำเนินงาน ต่อไปนี้

1. การวางแผนการจัดการเรียนรู้
ก่อนดำเนินการใดๆควรได้มีการวางแผนการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการให้ประสบผลสำเร็จต้องเริ่มจากการวางแผนการจัดหลักสูตร จัดประสบการณ์เพื่อให้การสอนเกิดผลดีที่สุดเพราะ “ไม่มีการสอนที่ดีใดจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า” (นิตยา ประพฤติกิจ ,2539,หน้า 11)
การวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ครูจำเป็นต้องทราบว่าจะวางแผนอย่างไร เพื่อให้เด็กได้พัฒนาพร้อมกันทั้งการเรียนและการเล่น ทั้งนี้เพราะสำหรับเด็กปฐมวัยการเล่นจะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้
นอกเหนือจากนี้เด็กจะพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของครูที่จะนำความรู้ที่ตนมีอยู่ไปใช้กับเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ตามระดับพัฒนาการของเด็ก
ก่อนวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ ครูควรได้อ่านประวัติของเด็กแต่ละคน ซึ่งประวัตินี้อาจได้มาจากการประชุมผู้ปกครอง ระเบียนประวัติของนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น
เด็กพูดไม่ชัด
เด็กยังไม่มีพัฒนาการด้านภาษา
เด็กติดอ่าง
เด็กไม่พูด
เด็กพูดภาษาถิ่น
การรู้ประวัติของเด็กช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้นเพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ว่าใช้ภาษาอย่างไร พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหน เด็กอยู่กับใคร เด็กที่อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับปู่ย่าตายาย หรืออยู่กับพี่เลี้ยงย่อมใช้ภาษาแตกต่างกัน เช่น เด็กที่อยู่กับพี่เลี้ยงที่พูดภาษาถิ่น ย่อมพูดภาษาถิ่นด้วย เด็กที่ครอบครัวเอาใจใส่จะใช้ภาษาดีกว่าเด็กที่ครอบครัวปล่อยปละละเลย
เมื่อครูรู้จักเด็กดีแล้ว ก็จะวางแผนการจัดประสบการณ์ได้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร จะใช้สื่ออะไรเพื่อให้เด็กพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
2. หลักการจัดการเรียนรู้ทางภาษา
ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก ควรต้องพิจารณาหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ
2.1 ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
2.2 ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4 ด้าน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ การฟัง การพูด
การเขียน และการอ่าน
2.3 เด็กที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหลากหลาย จะมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น
2.4 เด็กที่มีวัยต่างกันมีความสามารถในการใช้ภาษาต่างกัน
2.5 พ่อแม่สามารถสร้างเสริมประสบการณ์ด้านภาษาให้ลูกได้

3. บทบาทและหน้าที่ของครู
ครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ครูที่ต้องการให้เด็กใช้ภาษาดีครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าอยากให้เด็กพูดครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องสนใจและห่วงใยเด็ก ครูต้องวางแผนการจัดประสบการณ์อย่างดี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาเหมือนการใช้ภาษาปกติในชีวิตประจำวันเพราะเด็กจะเรียนรู้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ครูปฐมวัยมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยการพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากตัวครูก่อน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการหรือวัยวุฒิ รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดูให้ถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดไปในทางที่ดีขึ้น เพราะครูมีบทบาทสําคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูสามารถทําให้เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างองค์รวมก่อน เช่น การเรียนรู้จากนิทานทั้งเรื่อง เด็กๆ จะเรียนรู้ว่าในหนึ่งเรื่องนี้มีหลายหน้าที่ครูเปิดอ่าน แต่ละหน้าจะประกอบด้วยกลุ่มคํา ย่อหน้า ประโยค คําและอักษร ซึ่งค่อยแยกย่อยลงไป เห็นวิธีการเรียงร้อยกันของประโยคในภาษาของเรา ที่ครูอ่านหรือพูดให้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างราบรื่น
Henrick (อ้างจาก นิตยา ประพฤติกิจ, 2539 , หน้า 162) เสนอแนะวิธีการพื้นฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กไว้ ดังนี้
1. รู้จักฟังเด็ก
2. ให้เด็กได้พูดคุยถึงเรื่องที่เขาได้พบเห็นหรือได้ฟังมา
3. รู้จักพูดคุยหรือสนทนากับเด็ก
4. รู้จักซักถามเพื่อให้เด็กได้ใช้ภาษากว้างขึ้น
5. ให้เด็กได้ฝึกฝนการฟัง
6. รับปรึกษาเมื่อเด็กมีปัญหา
7. ใฝ่หาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาในทุกด้าน ก็คือ ครู ซึ่งจะมีหน้าที่จัดประสบการณ์ที่จะสร้างเสริม ฝึกฝนเด็ก ครูควรต้องยอมรับฟัง ตั้งใจฟัง ไม่มีอคติต่อการใช้ภาษาของเด็กแต่สิ่งที่ควรคิดถึงเสมอ คือ ครูไม่ใช่ผู้ป้อนความรู้ แต่ครูเป็นผู้จัดการความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็ก นภเนตร ธรรมบวร (2544, หน้า 139) กล่าวถึงบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมด้านภาษาไว้ดังนี้
1. ครูควรจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูดและการเขียน โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย วาดรูปและเล่าเรื่อง
2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้การเขียน และการอ่านในวิธีการที่มีความหมายกับเด็ก ครูควรเตรียมหนังสือและอุปกรณ์การเขียนไว้ในมุมในห้องเรียนเพื่อให้เด็กเล่นตามต้องการ
3. ครูควรกำหนดช่วงเวลาการอ่านให้แน่นอน โดยครูอาจพาเด็กไปห้องสมุดให้เด็กได้เลือกและยืมหนังสือเอง
4. ครูควรส่งเสริมให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารประเภทอื่นๆ นอกจากภาษาพูด เช่น ภาษาท่าทาง ดนตรี ศิลปะและภาษาเขียน ซึ่งภาษาเหล่านี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในเด็กปฐมวัย
5. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ตีความหมายและแก้ปัญหา โดยใช้นิทานเป็นเครื่องมือ นิทานเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าเสริมประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก
6. ในขณะอ่านหนังสือนิทานร่วมกันกับเด็ก ครูควรแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ ในนิทาน เพื่อให้ เด็กมีวงศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้น
7. ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการตกแต่งชั้นเรียนผ่านการใช้ภาษา เช่น ตกแต่งมุมห้อง ด้วยแผ่นป้ายที่เด็กเขียน รูปที่เด็กวาดทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ
8. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กลองผิดลองถูกในการใช้ภาษา อย่าบอกว่าผิด อย่าดุว่าหรือแก้ไข จะทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจและไม่กล้าพูดไม่กล้าเขียน
โดยสรุปการใช้ภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็ก ถ้าเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับทักษะการใช้ภาษา เด็กก็จะสามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้น


4.การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการสอนภาษาตามธรรมชาติ
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยควรต้องทำทั้งระบบ นั่นคือนอกเหนือจากการเตรียมกิจกรรม เตรียมเนื้อหาสาระแล้ว ครูต้องเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และกิจกรรมตามแนวการสอนภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เริ่มต้นโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ ในเรื่องของประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มความสนใจดังนั้นการจัดห้องเรียนจึงควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษา ตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา

การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กที่พูดภาษาถิ่น
ในเด็กที่พูดภาษาถิ่นในบ้าน เมื่อเข้ามาอยู่ในโรงเรียนการเรียนภาษาไทยเหมือนกับการเรียนภาษาที่สอง แต่สิ่งซึ่งไม่น่ากังวลใจสำหรับครูก็คือ การเรียนภาษาเป็นเรื่องธรรมชาติ เด็กเล็กเมื่อพบกันจะสื่อสารกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดภาษาเดียวกัน และเด็กพร้อมจะเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมๆ กับภาษาถิ่นซึ่งใช้อยู่ที่บ้านรวมทั้งภาษาที่ใช้อยู่จะไม่ปะปนกัน ไม่สับกัน เด็กไม่สนใจด้วยซ้ำว่าพูดภาษาอะไร แต่เขาจะรู้ว่าถ้าพูดกับครู เขาจะพูดด้วยภาษานี้ ถ้าพูดที่บ้านเขาจะพูดอีกอย่างหนึ่ง หรือถ้าไปพบคุณปู่คุณย่าจะต้องใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง
ผู้ใหญ่หลายคนไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของเด็ก ไม่แน่ใจว่าการสอนภาษาไปพร้อมๆ กันจะยากไปหรือไม่ เด็กจะรับไหวไหม ทั้งๆที่ในความเป็นจริงเด็กสามารถเรียนได้ทุกเรื่อง หากมีความสนใจ เมื่ออยู่ในห้องเรียนภาษา ครูอาจใช้ภาษากลางแต่ไม่มีความจำเป็นต้องบังคับว่าในห้องเรียนภาษาไทยพูดภาษาถิ่นไม่ได้ การเชื่อมโยงจากสิ่งที่รู้โดยเด็กรู้จักชื่อภาษาถิ่น นำมาเปรียบเทียบกับภาษาที่ครูสอนจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
สิ่งสำคัญครูอย่าพยายามยัดเยียด ดังที่บอกว่าอย่าห้ามใช้ภาษาถิ่นแล้วให้ใช้แต่ภาษาไทยกลาง มิฉะนั้นเด็กจะต่อต้านโดยแสดงอาการไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจและในที่สุดจะไม่เข้าใจจริงๆ





Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:48:01 น. 0 comments
Counter : 1720 Pageviews.






Name

* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion

*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
+ Emotion +
ver. 0.99 เอื้อเฟื้อโดย คุณยาจกน้อย

ประกาศผลโหวต

BlogGang Popular Award#4
[ประกาศผลโหวต]

kimmattic


Location :


My Network

[ดู Profile ทั้งหมด]

Rss Feed [?]







Bloggang.com

[Add kimmattic's blog to your weblog]


Bloggang.com

ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา

ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Autistic Theory)
ผู้คิดตั้งทฤษฎีนี้คือ โอ โฮบาร์ท โมว์เรอร์ (O.Hobart Mowrer ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวอเมริกันเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า Autistic Theory หรือ Autism Theory of Speech Acquisition เขาทดลองการสอนพูดกับนก และพบว่านกจะเลียนเสียงพูดของคนเฉพาะ เสียงหรือคำที่ผู้ฝึกพูดด้วยเวลาที่มันอิ่มหรือลูบไล้ด้วยความรักนอกจากนี้ คำเหล่านี้ยังทำให้นกเพลิดเพลิน และเป็นสุข การที่นกแก้ว นกขุนทอง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้หลาย ๆ เสียงนี่เอง จึงมีบางเสียงที่คล้ายคลึงกับเสียงที่ใช้ในภาษาพูดของมนุษย์ ที่แสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ดังนั้นเมื่อนกได้ยินเสียงที่ตัวมันเองเปล่งออกมาคล้ายคลึงกับเสียงที่นำความปิติมาให้ขณะกินอาหาร หรือถูกลูบไล้ด้วยความรัก มันจึงเลียนเสียงตามไปด้วย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะทำให้การเลียนเสียงของนกดีขึ้น จนสามารถพูดเป็นคำเป็นประโยคได้ เช่น “แก้วจ๋า กินข้าว” เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นลักษณะของการให้รางวัลแก่ตนเองคำว่า Autism คือการให้รางวัลแก่ตนเองในแง่ของกระบวนการ ที่ทำ
เขานำหลักการจากทฤษฎีมาใช้กับการเรียนรู้ของเด็ก ในการหัดพูดคำแรก และเชื่อว่าใช้ได้ เช่น แม่พูดคำว่า “แม่” หรือ “ลูก” เป็นพัน ๆ ครั้งขณะป้อนข้าว อาบน้ำ เล่น เห่กล่อมให้ จึงพบว่าบางครั้งเด็กก็เปล่งเสียง “แม่” ขณะเล่นเสียง และยิ่งคำพูดนี้ทำให้เด็กมีความรู้สึกปิติ ปลาบปลื้ม ก็จะยิ่งพูดซ้ำมากกว่าพยางค์หรือคำอื่นที่ไม่มีความหมายให้จดจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีนี้ทำให้เด็กพัฒนาการถ้อยคำที่ใช้ในภาษามากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กจะได้รับจากแม่ ส่วนในแง่ของปัญหาด้านความเข้าใจ ซึ่งมักมีผู้สงสัยนั้น ก็อธิบายได้ว่า ความหมายของเด็กอาจเกิดจากการโยงความสัมพันธ์ เช่น เมื่อพูด “แม่” แม่ก็ปรากฏตัว หรือเข้าใจความหมายคำว่า “ลูก” โดยชี้ให้ดูในกระจก
ทฤษฎีนี้จึงถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็ก เกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องมาจาก ความพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mowrer) เชื่อว่าความสามารถในการฟัง และ ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา

2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางการพูดนั้นเกิดขึ้นหลายทาง โดยอาศัยการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดได้จากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบใน การพัฒนาภาษาอย่างละเอียด คือ เลวิส (Lewis)
การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วง ความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก เพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำๆ กัน จึงทำให้เด็กมักพูดซ้ำ ๆ ในระยะการเล่นเสียง บางครั้งก็ใช้การเคาะโต๊ะ เคาะจังหวะไปด้วย เมื่อศึกษาถึงกระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูด ก็พบว่า จุดเริ่มต้นเกิดเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเด็กในระยะเล่นเสียง เช่น เด็กบังเอิญพูดย้ำพยางค์ คำว่า “แม่” เมื่อเสียงที่เด็กเปล่งออกมานั้นก่อให้เกิดความสนใจ เด็กก็จะกล่าวซ้ำอีกและเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แม่ปรากฏตัวเข้ามา เด็กจึงหยุดพูด แต่แม่อาจไม่สังเกตและอาจพูดกับลูกว่า “แม่หรือคะ” “หาแม่หรือคะ” นี่เองเท่ากับได้ไปเร้าความสนใจของเด็กขึ้นมาใหม่ เด็กก็ปรารถนาจะทำต่อไป อาจเปล่งเสียงคนเดียวซ้ำๆ กันก็ได้ ในขณะที่แม่อาจกระวีกระวาดไปเล่าให้พ่อฟังว่า ลูกเรียกแม่ได้แล้ว เมื่อใดที่เด็กสามารถใช้คำเพื่อการติดต่อได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ “แม่ มานี่” “แม่ อุ้มหน่อย” จึงจะถือว่าเด็กสามารถพูดคำแรกได้แล้ว ก้าวแรกในการสอนให้เด็กพูด ควรเป็นการเลียนแบบเสียงที่เด็กพูดในระยะการเล่นเสียง และอาจเร้าความสนใจด้วยการตบโต๊ะ เคาะจังหวะ เด็กจะได้หันมามอง การขัดจังหวะก็ควรทำก่อนเด็กจะหยุดกิจกรรม เช่น ขณะเด็กกำลังพูด ป้อป้อ ป้อซ้ำๆ พ่อแม่ก็เข้ามาขัดจังหวะทันทีที่เด็กพูด ป้อคำแรก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่เด็กพึงพอใจมากที่สุด และจะทำให้เด็กสนใจพูดต่อได้นานและดังกว่าเดิม ในระยะแรกก็ทำเพียง 2-3 เสียง แล้วทำให้เรียนรู้ความหมายไปด้วย เช่น เมื่อเด็กพูดคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” แม่หรือพ่อก็ควรเข้ามาปรากฏตัวและเมื่ออุ้มลูกขึ้นก็ควรพูดไปด้วย หัดให้ใช้คำนั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ผลสุดท้ายเด็กจะโยงความเข้าใจจากเสียงไปยังบุคคลและเข้าใจในความหมายได้
เด็กควรได้รับการฝึก จนกระทั่งมีคำตอบที่คงที่มีความหมายอยากพูดซ้ำๆ เมื่อพ่อแม่มาพูดหยอกเล่นด้วย ขณะที่เล่นเสียง พ่อแม่ควรใช้ระยะเงียบมาช่วยฝึกด้วย เช่น ช่วงว่างระหว่าง การทำเสียงอ้อแอ้ เด็กจะหยุดเงียบแม่อาจเร้าความสนใจเด็กใหม่โดยเร้าให้พูด “แม่ๆ” ถ้าเด็กตอบสนองด้วยการเลียนแบบก็ควรให้ฝึกต่อไป ขั้นถัดไปคือ การหัดพูดเป็นคำ ในการฝึกทั้งสองขั้นนี้ พ่อแม่จำต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมแล้วจะพบว่าเด็กใช้คำได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ หรือท่าทาง อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การหัดพูดครั้งแรกของเด็กได้มาโดยวิธีการของความสม่ำเสมอ ปกติเด็กคุ้นกับเสียง และท่าทางก่อนแล้ว เช่น “สวัสดี” “ไม่” หรือ “แม่” เด็กรู้จักคำมาก่อนนานแล้วเพียงแต่คอยความสม่ำเสมอ หรือ ความคงที่ของความหมายจากผู้ใหญ่ ท่าทางเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เด็กพูดคำแรกได้
สิ่งควรระลึกคือ การที่เด็กจะหัดพูดได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง หรือคำขอร้องซึ่งพ่อแม่มักชอบใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น “พูด…………..สิ” “พูด…………..ให้ถูกสิ” โดยเฉพาะคำที่พูดไม่ชัด นักแก้ไขการพูดรู้ดีว่าภาวะที่เหมาะในการหัดนั้นจะช่วยให้เด็กพูดได้ชัดได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกพูดคำแรกได้

3. ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory)
ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลังทฤษฎีของการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลด์ (Rheingold) พบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อให้รางวัลหรือเสริมกำลัง
เวสเบอร์ก ทอดด์ (Weissberg Todd ) ก็แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลทางสังคมทำให้เด็กอายุ 3 เดือน เปล่งเสียงมากขึ้น แต่พบว่าเฉพาะเสียงที่บ่งบอกความปิติยินดีไม่อาจทำให้เพิ่มการตอบสนองได้ เพราะเขาทดลองใช้เทปบันทึกเสียงแทนคน ปรากฏว่าไม่มีการตอบสนอง ตรงกันข้ามกับนกแก้วนกขุนทองที่สามารถวางเงื่อนไขด้วยจานเสียงหรือเทปก็ได้ เด็กนั้นต้องการตอบสนองจากผู้ใหญ่จริง ๆ
วินิทซ์ (Winitz) ได้อธิบายถึงการที่เด็กเกิดการรับรู้ในระยะการเล่นเสียงตอนต้นๆ ว่าเป็นการกระทำตามธรรมชาติของมนุษย์ ในการที่จะมีจุดหมายปลายทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กหิวก็เคลื่อนไหวปาก ซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่การดูดและการกินอาหาร ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็อาจใช้วิธีทำเสียงอ้อแอ้ โดยหวังว่าแม่จะเข้ามาหาและเล่นเสียงคุยตามไปด้วย ผู้ที่สังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะพอมองได้ว่า เมื่อใดเด็กร้องเพราะหิว แต่ก็ยากที่จะแยกแยะให้ตายตัวลงไปว่า เด็กหวังจะได้อาหารหรือหวังจะได้อะไรจากผู้ใหญ่ วินิทซ์ ได้อธิบายขั้นที่สองของพัฒนาการทางภาษาในด้านการให้รางวัลทางอ้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็ก กล่าวคือ เมื่อแม่ทำเสียงนำให้ลูกพร้อมกับการเอาอาหารมาให้ โดยเกือบจะพร้อมกันนั่นเอง เด็กจะหันศีรษะไปรับอาหาร และในขณะที่แม่เปล่งเสียงนั้นเด็กอาจทำกิริยาอย่างอื่นด้วย เช่น หันมามอง ยิ้ม จนบางครั้งแม้เมื่อไม่มีอาหารหากได้ยินเสียงแม่ ลูกก็จะมีพฤติกรรมเหมือนเดิม คือ หันศีรษะมาและยิ้มด้วย
การที่เสียงพูดของเด็กคล้ายคลึงกับเสียงแม่มากนั้น เขาอธิบายว่าเป็นเพราะการได้รับการเสริมกำลังจากเสียงของแม่ แล้วเปลี่ยนมาเป็นเสียงของเด็กเอง การเปล่งเสียงของแม่นั้นมักเกิดขึ้นก่อนและต่อเนื่องกับการเลี้ยงดูทารก ฉะนั้นเด็กจึงเลียนวิธีการออกเสียงด้วยวิธีนี้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเสียงแม่ปรากฏควบคู่กับการให้อาหาร ซึ่งจัดเป็นการเสริมกำลังโดยตรงอยู่แล้ว ก็เท่ากับช่วยให้เด็กพูดมากขึ้น ดังนั้นเด็กที่มีเสียงพูดเหมือนพ่อแม่มากก็คือ เด็กที่ได้รับการเสริมกำลังมากกว่าเด็กคนอื่นนั่นเอง ยิ่งพ่อแม่ตอบสนองอย่างเต็มอกเต็มใจ และร่าเริง เมื่อเด็กพูด “แม่-แม่” มากกว่าเมื่อพูดคำที่ไร้ความหมาย แล้วพยางค์นั้นก็จะยิ่งปรากฏบ่อยในการพูดของเด็ก เมื่ออายุราวๆ 1 ปี การเปล่งเสียงพยางค์ก็คล้ายคลึงกับพยางค์ที่มีความหมาย เช่น มม มม และสังเกตเห็นว่าแม่กระวีกระวาดเอาน้ำหรือนมที่เด็กต้องการมาให้ ก็จะทำให้พยางค์นั้นปรากฏบ่อยยิ่งขึ้น วิธีการแบบนี้เองที่เป็นการหัดพูด ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาการทางภาษาได้คล้ายคลึงกับการพูดของผู้ใหญ่



4. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception)
ในบางครั้ง เด็กจะพูดคำที่ไม่เคยพูดหรือไม่เคยถูกสอนให้พูดมาก่อนเลย แม้แต่ในระยะเล่นเสียงก็มิได้เปล่งเสียงที่คล้ายคลึงกับคำนั้น จึงสงสัยว่าเด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ทฤษฎีนี้ให้คำตอบในแง่นี้ คือ
ลีเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วยทำนองเดียวกับเด็กหูตึง การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง พูดซ้ำด้วยตนเองหรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ




Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:08:47 น. 1 comments
Counter : 674 Pageviews.










โดย: MONROVIA วันที่: 20 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:07:55 น.


Name

* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion

*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
+ Emotion +
ver. 0.99 เอื้อเฟื้อโดย คุณยาจกน้อย





BlogGang Popular Award#4
[ประกาศผลโหวต]

kimmattic


Location :


My Network

[ดู Profile ทั้งหมด]

Rss Feed [?]







Bloggang.com

[Add kimmattic's blog to your weblog]


Bloggang.com

การเรียนรู้ของเด็กยิ่งใหญ่นัก

การพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย

พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้

ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น





Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:10:54 น. 0 comments
Counter : 1044 Pageviews.

วันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ระยะปลอดภัย

ช่วงเวลาดีๆที่เธอและฉันไม่ต้องกังวลอะไร
เป็นช่วงเวลาดีๆที่เราทั้งสองจะมีแต่ความเข้าใจ
วันนี้เป็นวันดีดี วันนี้เราควรจะทำอะไร
วันที่อะไรๆ ก็ดูจะเหมือนจะคอยเป็นใจให้กัน
วันนี้จะทำอะไร ก็ดูจะเหมือนไม่ต้องระแวงระวัง
วันนี้คือวันดีดี มีฉันและเธอคนดีเท่านั้น

* มีบรรยากาศฝนตกรถติดช่วยฉัน
ยังมีมือเปล่าว่างอยู่ ให้จับเท่านั้น
ลองดูที่แก้มฉัน เธอนั้นว่ามีอะไร
เอามือไปแตะหน้าผากว่าตัวร้อนมั๊ย
เอาเธอมากอดข้างกายไม่แบ่งใครๆ
มีเราเพียงเท่านั้น มีเธอและมีฉัน อยู่ในวันสำคัญของเรา

คิดจะเอาอะไรก็ดูจะเหมือนจะง่ายจะดายอย่างใจ
อยากได้อารมณ์อะไรจะเย็นจะร้อนจะช้าจะเร็วอย่างไร
เธอนั้นพูดมาดีดีฉันพร้อมให้เธอคนดีทุกอย่าง
อยากให้มันเป็นยังไงจะยืนจะล้มจะนั่งจะนอนอย่างไร
ปวดเนื้อเมื่อยตัวยังไงไม่นานไม่ช้าก็คงจะคลายกันไป
มีพร้อมแค่เรื่องดีๆ เธอพร้อมที่จะยินดีอีกไหม

*

ก็แค่ไม่อยากให้วันนี้ผ่านพ้นไปจะทำยังไงอยากหยุดเวลาไว้
ในวันที่มันปลอดภัย มีเธอที่เคียงข้างกาย... สองเรา

การเรียนรู้ของเด็กเล็กยิ่งใหญ่นัก

การเรียนรู้ของเด็กเล็กยิ่งใหญ่นัก



เขียนโดย มนต์ชยา
อย่างที่กล่าวแล้วว่า คุณแม่เปรียบดังวีรบุรุษคนแรกในใจลูก เขาจึงเลียนแบบทุกสิ่งที่พ่อแม่ทำหรือสอน ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าเขาจดจำได้เร็วจนดูฉลาดเกินใคร และบางทีอาจคิดเลยเถิดไปว่าลูกมีพรสวรรค์ดังเด็กอัจฉริยะ แต่ก็มีคุณแม่หลายท่านที่ฉุกคิด และรีบปัดความคิดนั้นทิ้งเพราะกลัวคนอื่นหัวเราะเยาะ หรือย้อนกลับไปยึดติดอยู่กับความเชื่อเก่าๆ ทั้งที่การเลี้ยงดูของแม่ เป็นวิธีหนึ่งของการเจริญเติบโตทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ที่สร้างความฉลาดให้กับเด็กได้มากกว่าพันธุกรรมเสียอีก
Doman เชื่อว่าเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี มีความคิดที่สะอาด ว่างเปล่า จึงสามารถใส่ความรู้ให้เขาเติบโตเป็นอัจฉริยะได้ ธรรมชาติของเด็กเองปรารถนาจะเรียนรู้ทุกสิ่งในทันทีที่เขาเกิด ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเป็นการดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด และเจริญขึ้นเป็นคนที่มีแบบฉบับเฉพาะของตัวเอง นั้นหมายถึงมีการเปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้นใหม่ในลักษณะเฉพาะบางอย่าง ที่สามารถส่งผ่านทางพันธุกรรม และจากการถูกขัดเกลาจากสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นจึงเป็นอันตรายสำหรับเด็ก ถ้าผู้ใหญ่ไม่ให้เขาเรียนรู้ (เช่น ถ้าเขาร้องเพราะต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หิว เปียก แล้วไม่ได้รับการตอบสนอง เขาก็จะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ เขาก็จะไม่มีปฏิกิริยาที่แสดงความต้องการอย่างหนึ่งอย่างใดออกมา ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับเขามาก) คุณแม่จึงไม่ควรคิดว่า การมอบความรู้ให้เด็กวัยนี้ จะเกินกว่าสมอง
ของเขาจะเรียนรู้ได้ แต่ควรคิดว่าทารกตั้งแต่แรกเกิด สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างไม่จำกัด จึงไม่ควรจำกัดขอบเขตของเขาคุณลองคุยกับเด็ก 3 ขวบ ด้วยการจ้องหน้า เพื่อบอกว่าคุณตั้งใจฟัง ถ้าเขาเริ่มวางใจคุณ เขาจะเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายถามคำถามจากคุณ มันทำให้คุณพบว่า ไม่เพียงเด็กจะคิดแต่เล่นสนุก เขายังกระหายจะเรียนรู้ ซักถามคุณหลายเรื่องเหมือนไม่มีวันหมดความสงสัย บางคำถามเป็นโจทย์ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจค้นคว้าอยู่ ผู้ใหญ่บางคนอาจมองว่า เด็กตัวเล็ก สมองก็เล็ก น่าจะเฉลียวฉลาดน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่ Doman เชื่อว่าไม่เสมอไป เขายกตัวอย่างการเรียนภาษาศาสตร์ ผู้ใหญ่ไม่สามารถสอนเด็กให้รู้ชื่อสิ่งของทุกชิ้นที่มีบนโลก แต่เด็กเรียนรู้ได้เองจากคำพูดของผู้ใหญ่ เช่น “อย่าเอาแว่นตาของแม่ไปเล่น เดี๋ยวแว่นตาแตก” เขาจะเข้าใจได้ว่า สิ่งนี้เรียกว่าแว่นตา การเรียนภาษาของเด็กจึงน่ามหัศจรรย์ ยิ่งกว่านั้นคือ การเรียนภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาเดิมของตน ถ้าชาวอเมริกันคนหนึ่ง แข่งเรียนภาษาอิตาลีพร้อมกันกับเด็กอายุ 18 เดือน โดยส่งไปอยู่กับคนอิตาลีคนละครอบครัว เด็กจะไม่มีครูสอนแม้แต่คนเดียว ส่วนผู้ใหญ่มีครูสอนภาษาช่วยหลายคน เวลาผ่านไป 18 เดือน ผลคือผู้ใหญ่จะพูดภาษาอิตาลีได้ดีมาก แต่เป็นสำเนียงของอเมริกัน ขณะที่เด็ก 18 เดือน ไม่มีครูสอน แต่พูดภาษาอิตาลีได้ดีแบบครอบครัวที่เขาไปอยู่ด้วย และถ้าบ้านของเด็กมีผู้ใช้ภาษาถึง 3 ภาษาเขาก็จะใช้ภาษาทั้ง 3 ได้ด้วย นั่นไม่ใช่เพราะเด็กทุกคนพร้อมที่จะเป็นอัจฉริยะทางภาษา (ทางดนตรี คณิตศาสตร์ ฯลฯ ด้วย) ถ้าเพียงแต่เขาได้รับโอกาสจากการเรียนรู้ผ่านธรรมชาติของผู้ใหญ่หรอกหรือ ?ตอนที่ Doman เป็นวัยรุ่น เขาเรียนภาษาฝรั่งเศส แต่ก็ไม่สามารถพูดฝรั่งเศสได้ซักประโยค เขานึกย้อนไปในสมัยที่เขาเป็นเด็ก ไม่เห็นเคยต้องใช้เวลาฝึกภาษาอังกฤษเลย แต่ทุกวันนี้เขาเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษให้คนทั้งโลกได้อ่าน อย่างตรงไปตรงมา และเป็นจริง การเข้าใจความจริงอย่างตรงไปตรงมามักจะสวนทางกับอายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งเข้าใจความจริงอย่างตรงไปตรงมามากขึ้น แต่ถ้าอายุยิ่งน้อย สมองกลับยิ่งเข้าใจความจริงที่ตรงไปตรงมาได้ง่ายกว่า แถมยังจำได้แม่นยำ โดยเก็บรักษาไว้ในความทรงจำ คุณลองถามตัวเองดูว่า หลายปีมานี้คุณจำโคลงกลอนที่เพิ่งอ่านได้ซักกี่บท เมื่อเปรียบเทียบกับโคลงกลอนที่คุณจำได้ก่อนคุณอายุ 6 ขวบ คุณจะประหลาดใจว่า ช่วงเป็นเด็กคุณจำโคลงกลอนได้แม่นหลายบททีเดียว มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร จ้ำจี้มะเขือเปาะแปะ โยกเยกเอย เพราะสมองของคุณรู้จักโคลงกลอนนี้ตอนที่สมองของคุณพร้อมที่จะเรียนรู้ จึงเป็นการง่ายที่จะสอนเด็ก 2 ขวบให้เข้าใจความจริงที่ตรงไปตรงมามากกว่าสอนเด็ก 3 ขวบ และง่ายกว่าที่จะสอนให้เด็ก 1 ขวบ เข้าใจความจริงที่ตรงไปตรงมามากกว่าเด็ก 2 ขวบ และเป็นการง่ายที่จะสอนให้เด็ก 6 เดือน เข้าใจความจริงตรงไปตรงมามากกว่าเด็ก 1 ขวบ ตั้งแต่แรกเกิด สมองของเขาจะกระหายการเรียนรู้อย่างกับจรวดที่พุ่งขึ้นไปให้สูงที่สุด และจดจำความรู้นั้นได้ตลอดชีวิต ก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวไปพร้อมกับสติปัญญาที่เจริญเติบโตของเขา ที่ธรรมชาติขยายขนาดให้โตขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเซลล์จิ๋วจำนวนมหาศาล แต่ความสามารถในการเรียนรู้อย่างแรงกล้าอย่างนี้ จะตกลงเร็วด้วยเมื่อถึงอายุ 6 ขวบ เพราะเหมือนได้พุ่งขึ้นถึงขีดของความกระหายที่จะเรียนรู้แล้ว สิ่งที่ Doman ค้นพบว่าเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ขวบเรียนรู้ได้มีดังนี้
เป็นการง่ายที่จะสอนภาษาต่างประเทศให้เด็ก 1 ขวบกว่าสอนเด็ก 7 ขวบ เพราะการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็กจะช้ากว่าการเรียนรู้ผ่านการฟัง และ Doman ยังเชื่อว่า การสอนให้เด็กจำตัวอักษร จะง่ายกว่าการสอนให้เขาจำสำนวนพูด เพราะตัวอักษรหยุดนิ่งกว่า แต่สำนวนการพูดมีการเคลื่อนไหว ถ้าเขาสามารถนำตัวอักษรมาใช้ จะทำให้สมองที่อยู่ด้านหลังของเขาขยายขนาดขึ้นด้วย ซึ่งจะอธิบายวิธีการที่เขาใช้ในครั้งต่อๆ ไป
การสอนภาษาให้เด็ก 1 ขวบ ต้องเร่งเสียงชัดเจน เช่น “มานี่...มาหาแม่” เด็กจะดูจากกิริยาท่าทางของแม่ ร่วมกับการได้ยิน ไม่เพียงเท่านั้น Doman ได้คิดสอนตัวอักษรที่ให้กับเด็ก อย่างที่ไม่มีใครเคยทำ เพราะตระหนักว่า เด็กพร้อมจำและเรียนรู้ตัวอักษรได้ และเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้หลายภาษาพร้อมกันได้ดังกล่าว นักวิชาการและจิตแพทย์เด็กบางคนแย้งว่า การสอนความรู้ให้เด็กเล็ก มีแต่จะฝืน และเกิดความขัดแย้งทางจิตใจ แต่ Doman กลับเชื่อว่า เด็กจะมีความสุขกับความรู้หรือไม่อยู่ที่ใจของแม่ ถ้าแม่ไม่ชอบหรือเบื่อที่จะสอนลูกจะรู้ทันที และจะรู้สึกว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่แสนจะอึดอัด ดังนั้นถ้าคิดจะสอนลูกให้ได้ผลดี คุณต้อง...ทำให้ลูกรู้สึกว่า การเรียนเป็นเรื่องสนุกสนาน เหมือนกับการได้พบสิ่งใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นในขณะที่เรียนการเรียนเป็นของขวัญ หรือของรางวัลจากคุณไม่ใช่เป็นการลงโทษ หรือเป็นสิ่งที่ฟ้าสาปให้จำต้องทำ
การตั้งต้นสอนสิ่งต่างๆ ให้กับเด็ก ควรเป็นวิชาที่คุณชอบที่สุด เพราะคุณจะสอนวิชานั้นให้เขาได้รู้อย่างตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจ ถ้าใจของเขารักวิชานั้นด้วย เขาจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญวิชานั้นเมื่อโตขึ้น เด็กเล็กที่ได้รับโอกาสในช่วงที่สมองเขารับง่ายกว่า จะทำให้เขาไม่รู้สึกเบื่อเลย ตัวของเขาจะค้นพบวิธีควบคุมจัดการความรู้นั้นด้วยตัวของตัวเอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสมอง เขาจะไม่เกิดความรู้สึกท้อถอย หมดกำลังใจ หรือความสนใจเรียน แต่จะมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น เขาจะเข้าใจทันคำพูดของผู้ใหญ่ มีความคิดในใจ ผูกมิตรกับเด็กอื่นง่ายขึ้น เขาจะมีอิสรภาพ มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีกิริยาท่าทางอ่อนโยน สุภาพมาก ช่วงเวลาที่คุณสอนลูก ควรมีความรู้สึกอย่างเดียวกับช่วงที่คุณจูบเขา มองดูลูกอย่างชื่นชม แต่ถ้าคุณแม่พยายามสอนลูกด้วยความรักและสนุกสนานแล้ว แต่เขาไม่สนุกด้วย จงเลิกการสอนเสีย แล้วค้นหาความผิดพลาด รีบแก้ไข และเตรียมการสอนใหม่ จัดวางสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไปให้ห่าง ปิดโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ ผู้คน ฯลฯ เพื่อให้ลูกได้ซึมซับความรู้ที่คุณต้องการ บอกอย่างชัดเจนที่สุด เรียงลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ไม่ยอกย้อนซับซ้อน
[ ที่มา...นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 10 พฤษภาคม 2547 ]
< ก่อนหน้า

ถัดไป >
[ ย้อนกลับ]

ดูแลลูกรัก
เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
ระหว่างตั้งครรภ์
แรกเกิด - 3 ขวบ
สุดรัก.คอม
หน้าแรก
ดูแลลูกรัก
เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
ระหว่างตั้งครรภ์
แรกเกิด - 3 ขวบ
แพ็กเก็จคลอดบุตร
บทความแนะนำ
เว็บบอร์ด
โฟโต้อัลบั้ม ใหม่
ค้นหาบทความ
เกิดอะไรขึ้นในช่วง 9 เดือนของการตั้งครรภ์
อาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์
โภชนาการรายสัปดาห์ของคุณแม่ตั้งครรภ์
อาการข้างเคียงจากการตั้งครรภ์และวิธีแก้ไข
กลยุทธ์พัฒนาลูก 12 เดือนแรก
เคล็ดลับ...กันแท้ง
สร้างศักยภาพสมองให้ลูก
เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์เมื่อไหร่ดี
พัฒนาการทารกแรกเกิด - เดือนที่ 3
เทคโนโลยีกับการตรวจครรภ์แบบต่างๆ
ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ทำยังไงดี
แพ็กเก็จคลอดบุตรโรงพยาบาลบำรุงราษฎ์
ลูกดิ้นตลอด สาเหตุจากแม่เครียด
แพ็กเก็จคลอดบุตรโรงพบาบาลสินแพทย์
Toxic
เกมส์สนุกๆ สไตล์แอคชั่น โดยคุณต้องเก็บกู้สารเคมีที่อันตรายเพื่อช่วยโลกไว้ให้ได้ แต่ระวังให้ดีระหว่างทางจะมีเครื่องจักรมาขัดขวาง คุณต้องวางแผนก่อนวางระเบิดทุกครั้ง
Headcase
เกมส์เล่นเพลินๆที่คุณต้องรับบทเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ ใช้หมวกพุ่งชนศัตรู อุปสรรคระหว่างทางอาจไม่ง่ายอย่างที่คุณคิด
Roly Poly
มาทดสอบความนิ่งของฝีมือคุณว่าจะสามารถควบคุมการหมุนถาดเพื่อจะพาเพื่อนตัวน้อยเข้าสู่เส้นชัยได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
Scribble
ฺBlots เป็นสัตว์ตัวเล็กที่ไม่ค่อยฉลาด และไม่ค่อยดูทางเวลาเดิน ดังนั้นคุณต้องต้องช่วยเจ้าตัวน้อยโดยใช้หมึกวาดเส้นทางเดินให้เจ้าตัวน้อยให้เดินทางไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย
Copyright © 2006 - 2008 sudrak.com. Joomla! is Free Software released under the GNU/GPL License.-->

/* 0)
{
if (tool_height > tool_elem.scrollHeight) {
tool_height = tool_elem.scrollHeight;
tool_done = 1;
}
} else {
if (tool_height */

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า ทำการค้า ร่ำ
ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า ทำการค้า ร่ำรวย ไปสวยสม มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์ ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคงรวย ไปสวยสม มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์ ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคง
คุณไม่ผิดที่ไปรักเขาคนนั้นและเขาเองก็คงไม่ผิดที่ไม่ได้รักคุณในทางตรงข้าม คุณไม่ผิดที่ไม่ได้รักเขาคนนั้นและเขาก็ไม่ผิดที่มารักคุณเช่นกันการห้ามใจไม่ให้รักนั้นยากนักแต่คงเทียบไม่ได้กับการห้ามใจให้ลืมรักเพราะย่อมยากกว่า
1. ความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน ตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. พฤติกรรมการอ่านของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านตาม แนวการสอนแบบธรรมชาติ สรุปได้ดังนี้ (1) พฤติกรรมที่พบบ่อยด้านการใช้หนังสือของนักเรียนส่วนใหญ่ คือ อ่านหนังสือจากหน้าซ้าย ไปหน้าขวา อ่านกวาดสายตาโดยอ่านข้อความจากซ้ายไปขวา และกวาดสายตากลับมาทางซ้าย ส่วนพฤติกรรมที่ไม่พบส่วนใหญ่ คือ การหาตอนเริ่มต้นและตอนจบของเรื่อง (2) พฤติกรรมที่พบบ่อยด้านการอ่านตัวอักษรของนักเรียนส่วนใหญ่ คือ กวาดสายตาถูกทิศทาง เมื่อมองข้อความที่คุ้นเคยและชี้ตัวอักษรในตัวพร้อมกับออกเสียงไปด้วย ส่วนพฤติกรรมที่ไม่พบส่วนใหญ่ คือ การหาคำที่มีตัวอักษรคล้ายคลึงกัน (3) พฤติกรรมที่พบบ่อยด้านความเข้าใจในสิ่งที่อ่านของนักเรียนส่วนใหญ่ คือ การเล่นเกมโดย ใช้บัตรคำที่คำคุ้นเคย และเรียงบัตรคำได้อย่างถูกต้อง
จากการศึกษาการนับของชนเผ่าชาวบราซิลเลียนกลุ่มหนึ่ง ที่ภาษาไม่ได้ระบุการนับตัวเลขที่มากกว่าสอง นักล่าจากชนเผ่า Pirahã ที่ภาษานั้นมีตัวเลขเพียงหนึ่งและสองเท่านั้น พวกเขาจึงไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของวัตถุ 4 ชิ้นในแถวเดียวกัน หรือของ 5 ชิ้นที่มีลักษณะเหมือนกันได้ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับผลการศึกษาที่สนับสนุนสมมุติฐานการศึกษาที่โต้แย้งกันมานาน ที่ว่า ภาษาสามารถสร้างแนวคิดของมนุษย์ได้ โดยการศึกษานี้อยู่ภายใต้ชื่อโครงการ “linguistic determinism” ตั้งแต่ในปี 1950ลิซ่า ไฟเจนสัน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยจอน์หฮอฟคิน ในรัฐเมอร์รี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ทำการทดสอบความสามารถของเด็กในการจำแนกความแตกต่างของปริมาณตัวเลข กล่าวว่า ผลการทดสอลครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจและน่าสนใจมาก เนื่องจากสมมุติฐานนี้เป็นที่โต้แย้งกันมาอย่างยาวนานว่า ภาษานั้นสามารถสร้างแนวคิดให้กับมนุษย์ได้หรือไม่ปีเตอร์ กอร์ดอน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในเมืองนิวยอร์คผู้ร่วมในการทำการทดลองครั้งนี้ แสดงความเห็นว่า การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้รวมถึงความคิดทุก ๆ ด้านของมนุษย์ เนื่องจากมีความคิดบางส่วนที่เราไม่สามารถศึกษาได้ แต่สำหรับตัวเลขต่าง ๆ นั้น แสดงให้เห็นว่า ข้อจำกัดของภาษานั้นมีผล่อการรับรู้ของมนุษย์กอร์ดอนอธิบายต่อไปว่า ภาษาของ Pirahã ที่มีเพียงแค่จำนวน หนึ่ง สอง และมากกว่า เท่านั้น เพราะว่าสำหรับตัวเลขที่มีค่ามากกว่าสองนั้น พวกเขาจะใช้คำว่า “มากกว่า” ซึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขานั้นไม่ค่อยมีความจำเป็นในการนับเลขมากนัก สำหรับรายละเอียดของการทดสอบครั้งนี้ กอร์ดอนได้สร้างงานทั้งหมด 7 ชิ้นที่แตกต่างกันขึ้นมา โดยงานที่ง่ายที่สุดนั้นคือ การจัดวางวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น แบตเตอรี่ ตะเกียบ หรือน็อตในแนวต่าง ๆ โดยให้ชาว Pirahã วางวัตถุให้มีจำนวนเท่ากับของกองที่วางอยู่กองวัตถุที่มีจำนวนหนึ่ง สอง และสาม พวกเขาสามารถจับคู่กองวัตถุได้อย่างถูกต้อง แต่สำหรับกองวัตถุที่มีจำนวนสี่ ห้า หรือมากจนถึงสิบนั้น พวกเขาไม่สามารถจับคู่ได้อย่างถูกต้องทั้งหมด ชาว Pirahã ไม่สามารถจดจำได้ว่าในกล่องที่เขาเห็นเมื่อสักครู่ที่ผ่านมานั้นมีจำนวนปลาที่วาดไว้บนฝากล่องสี่หรือห้าตัว นอกจากนั้นหากผู้ร่วมงานของกอร์ดอนทำการกระทืบเท้าสามครั้ง ชาว Pirahã สามารถทำตามได้อย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถเลียนแบบเมื่อกระทืบเท้าสี่หรือห้าครั้งได้กอร์ดอนกล่าวอีกว่า การทดสอบนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่าการขาดแคลนคำต่าง ๆ ทำให้จำกัดการพูดในภาษานั้นจากความเข้าใจที่มีอยู่ของผู้พูดการทดสอบเด็กและความฉลาดของสัตว์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น หนู นกพิราบและลิงที่สามารถนับจำนวนน้อย ๆ ได้ แต่ก็ไม่สามารถแบ่งแยกจำนวนมาก ๆ ได้เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ชี้ชัดว่า การไม่สามารถออกเสียงจำนวนได้ชัดเจนเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกแยะจำนวนมาก ๆ ได้แต่ผลของการศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับโครงการนี้ เนื่องจาก เกี่ยวข้องกับภาษาของชาว Pirahã โดยตรง โดยไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น กล่าวคือ พวกเขามีความเป็นผู้ใหญ่ซึ่งมีหลายปัจจัยที่แตกต่างจากเด็กและสัตว์ทดลองอย่างไรก็ตาม ไฟเจนสันได้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับการศึกษาครั้งนี้น่าจะมีปัจจัยอื่น นอกจากภาษาแต่เพียงอย่างเดียว ที่จะแสดงให้เห็นว่าชาว Pirahã ไม่สามารถแยกแยะจำนวนมาก ๆ ได้ ซึ่งอาจรวมถึง การไม่ต้องใช้งานจำนวนมาก ๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเขาก็ได้แรนดี้ กัลลิสเติ้ล นักจิตวิทยาจากมหาวิยาลัยรัตเจอร์ ในรัฐนิวเจอร์ซี่ ให้ความเห็นว่า จากการศึกษาครั้งนี้ ยังมีข้อโต้แย้งอยู่หลายประการด้วยกัน แต่ก็ไปหนทางที่ดีในการจุดประกายการศึกษาที่ได้ตามมา

ของฉันเอง

นางสาว สมร บุญเพิ่ม ชื่อเล่น เอ็ม
เป็นคนจังหวัดสุรินทร์ มีพี่น้อง 3คน ดิฉันเป็นคนแรก

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551