วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551

ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย

การพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



พฤศจิกายน 2550

1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30








19 พฤศจิกายน 2550
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย






กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย


กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)

การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่จะให้ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมาย ต้องมีองค์ประกอบและการดำเนินงาน ต่อไปนี้

1. การวางแผนการจัดการเรียนรู้
ก่อนดำเนินการใดๆควรได้มีการวางแผนการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการให้ประสบผลสำเร็จต้องเริ่มจากการวางแผนการจัดหลักสูตร จัดประสบการณ์เพื่อให้การสอนเกิดผลดีที่สุดเพราะ “ไม่มีการสอนที่ดีใดจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า” (นิตยา ประพฤติกิจ ,2539,หน้า 11)
การวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ครูจำเป็นต้องทราบว่าจะวางแผนอย่างไร เพื่อให้เด็กได้พัฒนาพร้อมกันทั้งการเรียนและการเล่น ทั้งนี้เพราะสำหรับเด็กปฐมวัยการเล่นจะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้
นอกเหนือจากนี้เด็กจะพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของครูที่จะนำความรู้ที่ตนมีอยู่ไปใช้กับเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ตามระดับพัฒนาการของเด็ก
ก่อนวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ ครูควรได้อ่านประวัติของเด็กแต่ละคน ซึ่งประวัตินี้อาจได้มาจากการประชุมผู้ปกครอง ระเบียนประวัติของนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น
เด็กพูดไม่ชัด
เด็กยังไม่มีพัฒนาการด้านภาษา
เด็กติดอ่าง
เด็กไม่พูด
เด็กพูดภาษาถิ่น
การรู้ประวัติของเด็กช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้นเพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ว่าใช้ภาษาอย่างไร พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหน เด็กอยู่กับใคร เด็กที่อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับปู่ย่าตายาย หรืออยู่กับพี่เลี้ยงย่อมใช้ภาษาแตกต่างกัน เช่น เด็กที่อยู่กับพี่เลี้ยงที่พูดภาษาถิ่น ย่อมพูดภาษาถิ่นด้วย เด็กที่ครอบครัวเอาใจใส่จะใช้ภาษาดีกว่าเด็กที่ครอบครัวปล่อยปละละเลย
เมื่อครูรู้จักเด็กดีแล้ว ก็จะวางแผนการจัดประสบการณ์ได้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร จะใช้สื่ออะไรเพื่อให้เด็กพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
2. หลักการจัดการเรียนรู้ทางภาษา
ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก ควรต้องพิจารณาหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ
2.1 ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
2.2 ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4 ด้าน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ การฟัง การพูด
การเขียน และการอ่าน
2.3 เด็กที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหลากหลาย จะมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น
2.4 เด็กที่มีวัยต่างกันมีความสามารถในการใช้ภาษาต่างกัน
2.5 พ่อแม่สามารถสร้างเสริมประสบการณ์ด้านภาษาให้ลูกได้

3. บทบาทและหน้าที่ของครู
ครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ครูที่ต้องการให้เด็กใช้ภาษาดีครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าอยากให้เด็กพูดครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องสนใจและห่วงใยเด็ก ครูต้องวางแผนการจัดประสบการณ์อย่างดี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาเหมือนการใช้ภาษาปกติในชีวิตประจำวันเพราะเด็กจะเรียนรู้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ครูปฐมวัยมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยการพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากตัวครูก่อน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการหรือวัยวุฒิ รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดูให้ถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดไปในทางที่ดีขึ้น เพราะครูมีบทบาทสําคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูสามารถทําให้เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างองค์รวมก่อน เช่น การเรียนรู้จากนิทานทั้งเรื่อง เด็กๆ จะเรียนรู้ว่าในหนึ่งเรื่องนี้มีหลายหน้าที่ครูเปิดอ่าน แต่ละหน้าจะประกอบด้วยกลุ่มคํา ย่อหน้า ประโยค คําและอักษร ซึ่งค่อยแยกย่อยลงไป เห็นวิธีการเรียงร้อยกันของประโยคในภาษาของเรา ที่ครูอ่านหรือพูดให้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างราบรื่น
Henrick (อ้างจาก นิตยา ประพฤติกิจ, 2539 , หน้า 162) เสนอแนะวิธีการพื้นฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กไว้ ดังนี้
1. รู้จักฟังเด็ก
2. ให้เด็กได้พูดคุยถึงเรื่องที่เขาได้พบเห็นหรือได้ฟังมา
3. รู้จักพูดคุยหรือสนทนากับเด็ก
4. รู้จักซักถามเพื่อให้เด็กได้ใช้ภาษากว้างขึ้น
5. ให้เด็กได้ฝึกฝนการฟัง
6. รับปรึกษาเมื่อเด็กมีปัญหา
7. ใฝ่หาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาในทุกด้าน ก็คือ ครู ซึ่งจะมีหน้าที่จัดประสบการณ์ที่จะสร้างเสริม ฝึกฝนเด็ก ครูควรต้องยอมรับฟัง ตั้งใจฟัง ไม่มีอคติต่อการใช้ภาษาของเด็กแต่สิ่งที่ควรคิดถึงเสมอ คือ ครูไม่ใช่ผู้ป้อนความรู้ แต่ครูเป็นผู้จัดการความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็ก นภเนตร ธรรมบวร (2544, หน้า 139) กล่าวถึงบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมด้านภาษาไว้ดังนี้
1. ครูควรจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูดและการเขียน โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย วาดรูปและเล่าเรื่อง
2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้การเขียน และการอ่านในวิธีการที่มีความหมายกับเด็ก ครูควรเตรียมหนังสือและอุปกรณ์การเขียนไว้ในมุมในห้องเรียนเพื่อให้เด็กเล่นตามต้องการ
3. ครูควรกำหนดช่วงเวลาการอ่านให้แน่นอน โดยครูอาจพาเด็กไปห้องสมุดให้เด็กได้เลือกและยืมหนังสือเอง
4. ครูควรส่งเสริมให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารประเภทอื่นๆ นอกจากภาษาพูด เช่น ภาษาท่าทาง ดนตรี ศิลปะและภาษาเขียน ซึ่งภาษาเหล่านี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในเด็กปฐมวัย
5. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ตีความหมายและแก้ปัญหา โดยใช้นิทานเป็นเครื่องมือ นิทานเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าเสริมประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก
6. ในขณะอ่านหนังสือนิทานร่วมกันกับเด็ก ครูควรแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ ในนิทาน เพื่อให้ เด็กมีวงศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้น
7. ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการตกแต่งชั้นเรียนผ่านการใช้ภาษา เช่น ตกแต่งมุมห้อง ด้วยแผ่นป้ายที่เด็กเขียน รูปที่เด็กวาดทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ
8. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กลองผิดลองถูกในการใช้ภาษา อย่าบอกว่าผิด อย่าดุว่าหรือแก้ไข จะทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจและไม่กล้าพูดไม่กล้าเขียน
โดยสรุปการใช้ภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็ก ถ้าเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับทักษะการใช้ภาษา เด็กก็จะสามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้น


4.การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการสอนภาษาตามธรรมชาติ
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยควรต้องทำทั้งระบบ นั่นคือนอกเหนือจากการเตรียมกิจกรรม เตรียมเนื้อหาสาระแล้ว ครูต้องเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และกิจกรรมตามแนวการสอนภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เริ่มต้นโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ ในเรื่องของประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มความสนใจดังนั้นการจัดห้องเรียนจึงควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษา ตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา

การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กที่พูดภาษาถิ่น
ในเด็กที่พูดภาษาถิ่นในบ้าน เมื่อเข้ามาอยู่ในโรงเรียนการเรียนภาษาไทยเหมือนกับการเรียนภาษาที่สอง แต่สิ่งซึ่งไม่น่ากังวลใจสำหรับครูก็คือ การเรียนภาษาเป็นเรื่องธรรมชาติ เด็กเล็กเมื่อพบกันจะสื่อสารกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดภาษาเดียวกัน และเด็กพร้อมจะเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมๆ กับภาษาถิ่นซึ่งใช้อยู่ที่บ้านรวมทั้งภาษาที่ใช้อยู่จะไม่ปะปนกัน ไม่สับกัน เด็กไม่สนใจด้วยซ้ำว่าพูดภาษาอะไร แต่เขาจะรู้ว่าถ้าพูดกับครู เขาจะพูดด้วยภาษานี้ ถ้าพูดที่บ้านเขาจะพูดอีกอย่างหนึ่ง หรือถ้าไปพบคุณปู่คุณย่าจะต้องใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง
ผู้ใหญ่หลายคนไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของเด็ก ไม่แน่ใจว่าการสอนภาษาไปพร้อมๆ กันจะยากไปหรือไม่ เด็กจะรับไหวไหม ทั้งๆที่ในความเป็นจริงเด็กสามารถเรียนได้ทุกเรื่อง หากมีความสนใจ เมื่ออยู่ในห้องเรียนภาษา ครูอาจใช้ภาษากลางแต่ไม่มีความจำเป็นต้องบังคับว่าในห้องเรียนภาษาไทยพูดภาษาถิ่นไม่ได้ การเชื่อมโยงจากสิ่งที่รู้โดยเด็กรู้จักชื่อภาษาถิ่น นำมาเปรียบเทียบกับภาษาที่ครูสอนจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
สิ่งสำคัญครูอย่าพยายามยัดเยียด ดังที่บอกว่าอย่าห้ามใช้ภาษาถิ่นแล้วให้ใช้แต่ภาษาไทยกลาง มิฉะนั้นเด็กจะต่อต้านโดยแสดงอาการไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจและในที่สุดจะไม่เข้าใจจริงๆ





Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:48:01 น. 0 comments
Counter : 1720 Pageviews.






Name

* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion

*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
+ Emotion +
ver. 0.99 เอื้อเฟื้อโดย คุณยาจกน้อย

ไม่มีความคิดเห็น: