วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
การพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พฤศจิกายน 2550
1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30
19 พฤศจิกายน 2550
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่จะให้ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมาย ต้องมีองค์ประกอบและการดำเนินงาน ต่อไปนี้
1. การวางแผนการจัดการเรียนรู้
ก่อนดำเนินการใดๆควรได้มีการวางแผนการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการให้ประสบผลสำเร็จต้องเริ่มจากการวางแผนการจัดหลักสูตร จัดประสบการณ์เพื่อให้การสอนเกิดผลดีที่สุดเพราะ “ไม่มีการสอนที่ดีใดจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า” (นิตยา ประพฤติกิจ ,2539,หน้า 11)
การวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ครูจำเป็นต้องทราบว่าจะวางแผนอย่างไร เพื่อให้เด็กได้พัฒนาพร้อมกันทั้งการเรียนและการเล่น ทั้งนี้เพราะสำหรับเด็กปฐมวัยการเล่นจะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้
นอกเหนือจากนี้เด็กจะพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของครูที่จะนำความรู้ที่ตนมีอยู่ไปใช้กับเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ตามระดับพัฒนาการของเด็ก
ก่อนวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ ครูควรได้อ่านประวัติของเด็กแต่ละคน ซึ่งประวัตินี้อาจได้มาจากการประชุมผู้ปกครอง ระเบียนประวัติของนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น
เด็กพูดไม่ชัด
เด็กยังไม่มีพัฒนาการด้านภาษา
เด็กติดอ่าง
เด็กไม่พูด
เด็กพูดภาษาถิ่น
การรู้ประวัติของเด็กช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้นเพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ว่าใช้ภาษาอย่างไร พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหน เด็กอยู่กับใคร เด็กที่อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับปู่ย่าตายาย หรืออยู่กับพี่เลี้ยงย่อมใช้ภาษาแตกต่างกัน เช่น เด็กที่อยู่กับพี่เลี้ยงที่พูดภาษาถิ่น ย่อมพูดภาษาถิ่นด้วย เด็กที่ครอบครัวเอาใจใส่จะใช้ภาษาดีกว่าเด็กที่ครอบครัวปล่อยปละละเลย
เมื่อครูรู้จักเด็กดีแล้ว ก็จะวางแผนการจัดประสบการณ์ได้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร จะใช้สื่ออะไรเพื่อให้เด็กพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
2. หลักการจัดการเรียนรู้ทางภาษา
ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก ควรต้องพิจารณาหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ
2.1 ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
2.2 ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4 ด้าน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ การฟัง การพูด
การเขียน และการอ่าน
2.3 เด็กที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหลากหลาย จะมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น
2.4 เด็กที่มีวัยต่างกันมีความสามารถในการใช้ภาษาต่างกัน
2.5 พ่อแม่สามารถสร้างเสริมประสบการณ์ด้านภาษาให้ลูกได้
3. บทบาทและหน้าที่ของครู
ครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ครูที่ต้องการให้เด็กใช้ภาษาดีครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าอยากให้เด็กพูดครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องสนใจและห่วงใยเด็ก ครูต้องวางแผนการจัดประสบการณ์อย่างดี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาเหมือนการใช้ภาษาปกติในชีวิตประจำวันเพราะเด็กจะเรียนรู้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ครูปฐมวัยมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยการพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากตัวครูก่อน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการหรือวัยวุฒิ รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดูให้ถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดไปในทางที่ดีขึ้น เพราะครูมีบทบาทสําคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูสามารถทําให้เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างองค์รวมก่อน เช่น การเรียนรู้จากนิทานทั้งเรื่อง เด็กๆ จะเรียนรู้ว่าในหนึ่งเรื่องนี้มีหลายหน้าที่ครูเปิดอ่าน แต่ละหน้าจะประกอบด้วยกลุ่มคํา ย่อหน้า ประโยค คําและอักษร ซึ่งค่อยแยกย่อยลงไป เห็นวิธีการเรียงร้อยกันของประโยคในภาษาของเรา ที่ครูอ่านหรือพูดให้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างราบรื่น
Henrick (อ้างจาก นิตยา ประพฤติกิจ, 2539 , หน้า 162) เสนอแนะวิธีการพื้นฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กไว้ ดังนี้
1. รู้จักฟังเด็ก
2. ให้เด็กได้พูดคุยถึงเรื่องที่เขาได้พบเห็นหรือได้ฟังมา
3. รู้จักพูดคุยหรือสนทนากับเด็ก
4. รู้จักซักถามเพื่อให้เด็กได้ใช้ภาษากว้างขึ้น
5. ให้เด็กได้ฝึกฝนการฟัง
6. รับปรึกษาเมื่อเด็กมีปัญหา
7. ใฝ่หาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาในทุกด้าน ก็คือ ครู ซึ่งจะมีหน้าที่จัดประสบการณ์ที่จะสร้างเสริม ฝึกฝนเด็ก ครูควรต้องยอมรับฟัง ตั้งใจฟัง ไม่มีอคติต่อการใช้ภาษาของเด็กแต่สิ่งที่ควรคิดถึงเสมอ คือ ครูไม่ใช่ผู้ป้อนความรู้ แต่ครูเป็นผู้จัดการความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็ก นภเนตร ธรรมบวร (2544, หน้า 139) กล่าวถึงบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมด้านภาษาไว้ดังนี้
1. ครูควรจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูดและการเขียน โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย วาดรูปและเล่าเรื่อง
2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้การเขียน และการอ่านในวิธีการที่มีความหมายกับเด็ก ครูควรเตรียมหนังสือและอุปกรณ์การเขียนไว้ในมุมในห้องเรียนเพื่อให้เด็กเล่นตามต้องการ
3. ครูควรกำหนดช่วงเวลาการอ่านให้แน่นอน โดยครูอาจพาเด็กไปห้องสมุดให้เด็กได้เลือกและยืมหนังสือเอง
4. ครูควรส่งเสริมให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารประเภทอื่นๆ นอกจากภาษาพูด เช่น ภาษาท่าทาง ดนตรี ศิลปะและภาษาเขียน ซึ่งภาษาเหล่านี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในเด็กปฐมวัย
5. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ตีความหมายและแก้ปัญหา โดยใช้นิทานเป็นเครื่องมือ นิทานเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าเสริมประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก
6. ในขณะอ่านหนังสือนิทานร่วมกันกับเด็ก ครูควรแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ ในนิทาน เพื่อให้ เด็กมีวงศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้น
7. ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการตกแต่งชั้นเรียนผ่านการใช้ภาษา เช่น ตกแต่งมุมห้อง ด้วยแผ่นป้ายที่เด็กเขียน รูปที่เด็กวาดทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ
8. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กลองผิดลองถูกในการใช้ภาษา อย่าบอกว่าผิด อย่าดุว่าหรือแก้ไข จะทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจและไม่กล้าพูดไม่กล้าเขียน
โดยสรุปการใช้ภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็ก ถ้าเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับทักษะการใช้ภาษา เด็กก็จะสามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้น
4.การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการสอนภาษาตามธรรมชาติ
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยควรต้องทำทั้งระบบ นั่นคือนอกเหนือจากการเตรียมกิจกรรม เตรียมเนื้อหาสาระแล้ว ครูต้องเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และกิจกรรมตามแนวการสอนภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เริ่มต้นโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ ในเรื่องของประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มความสนใจดังนั้นการจัดห้องเรียนจึงควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษา ตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กที่พูดภาษาถิ่น
ในเด็กที่พูดภาษาถิ่นในบ้าน เมื่อเข้ามาอยู่ในโรงเรียนการเรียนภาษาไทยเหมือนกับการเรียนภาษาที่สอง แต่สิ่งซึ่งไม่น่ากังวลใจสำหรับครูก็คือ การเรียนภาษาเป็นเรื่องธรรมชาติ เด็กเล็กเมื่อพบกันจะสื่อสารกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดภาษาเดียวกัน และเด็กพร้อมจะเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมๆ กับภาษาถิ่นซึ่งใช้อยู่ที่บ้านรวมทั้งภาษาที่ใช้อยู่จะไม่ปะปนกัน ไม่สับกัน เด็กไม่สนใจด้วยซ้ำว่าพูดภาษาอะไร แต่เขาจะรู้ว่าถ้าพูดกับครู เขาจะพูดด้วยภาษานี้ ถ้าพูดที่บ้านเขาจะพูดอีกอย่างหนึ่ง หรือถ้าไปพบคุณปู่คุณย่าจะต้องใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง
ผู้ใหญ่หลายคนไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของเด็ก ไม่แน่ใจว่าการสอนภาษาไปพร้อมๆ กันจะยากไปหรือไม่ เด็กจะรับไหวไหม ทั้งๆที่ในความเป็นจริงเด็กสามารถเรียนได้ทุกเรื่อง หากมีความสนใจ เมื่ออยู่ในห้องเรียนภาษา ครูอาจใช้ภาษากลางแต่ไม่มีความจำเป็นต้องบังคับว่าในห้องเรียนภาษาไทยพูดภาษาถิ่นไม่ได้ การเชื่อมโยงจากสิ่งที่รู้โดยเด็กรู้จักชื่อภาษาถิ่น นำมาเปรียบเทียบกับภาษาที่ครูสอนจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
สิ่งสำคัญครูอย่าพยายามยัดเยียด ดังที่บอกว่าอย่าห้ามใช้ภาษาถิ่นแล้วให้ใช้แต่ภาษาไทยกลาง มิฉะนั้นเด็กจะต่อต้านโดยแสดงอาการไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจและในที่สุดจะไม่เข้าใจจริงๆ
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:48:01 น. 0 comments
Counter : 1720 Pageviews.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
+ Emotion +
ver. 0.99 เอื้อเฟื้อโดย คุณยาจกน้อย
พฤศจิกายน 2550
1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30
19 พฤศจิกายน 2550
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
สรุป
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม
หลักการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
หลักพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา (เสริม)
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่จะให้ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมาย ต้องมีองค์ประกอบและการดำเนินงาน ต่อไปนี้
1. การวางแผนการจัดการเรียนรู้
ก่อนดำเนินการใดๆควรได้มีการวางแผนการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการให้ประสบผลสำเร็จต้องเริ่มจากการวางแผนการจัดหลักสูตร จัดประสบการณ์เพื่อให้การสอนเกิดผลดีที่สุดเพราะ “ไม่มีการสอนที่ดีใดจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า” (นิตยา ประพฤติกิจ ,2539,หน้า 11)
การวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ครูจำเป็นต้องทราบว่าจะวางแผนอย่างไร เพื่อให้เด็กได้พัฒนาพร้อมกันทั้งการเรียนและการเล่น ทั้งนี้เพราะสำหรับเด็กปฐมวัยการเล่นจะนำเด็กไปสู่การเรียนรู้
นอกเหนือจากนี้เด็กจะพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของครูที่จะนำความรู้ที่ตนมีอยู่ไปใช้กับเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ตามระดับพัฒนาการของเด็ก
ก่อนวางแผนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ ครูควรได้อ่านประวัติของเด็กแต่ละคน ซึ่งประวัตินี้อาจได้มาจากการประชุมผู้ปกครอง ระเบียนประวัติของนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น
เด็กพูดไม่ชัด
เด็กยังไม่มีพัฒนาการด้านภาษา
เด็กติดอ่าง
เด็กไม่พูด
เด็กพูดภาษาถิ่น
การรู้ประวัติของเด็กช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้นเพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมทางบ้าน ว่าใช้ภาษาอย่างไร พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหน เด็กอยู่กับใคร เด็กที่อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับปู่ย่าตายาย หรืออยู่กับพี่เลี้ยงย่อมใช้ภาษาแตกต่างกัน เช่น เด็กที่อยู่กับพี่เลี้ยงที่พูดภาษาถิ่น ย่อมพูดภาษาถิ่นด้วย เด็กที่ครอบครัวเอาใจใส่จะใช้ภาษาดีกว่าเด็กที่ครอบครัวปล่อยปละละเลย
เมื่อครูรู้จักเด็กดีแล้ว ก็จะวางแผนการจัดประสบการณ์ได้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร จะใช้สื่ออะไรเพื่อให้เด็กพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
2. หลักการจัดการเรียนรู้ทางภาษา
ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก ควรต้องพิจารณาหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ
2.1 ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
2.2 ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4 ด้าน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ การฟัง การพูด
การเขียน และการอ่าน
2.3 เด็กที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหลากหลาย จะมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น
2.4 เด็กที่มีวัยต่างกันมีความสามารถในการใช้ภาษาต่างกัน
2.5 พ่อแม่สามารถสร้างเสริมประสบการณ์ด้านภาษาให้ลูกได้
3. บทบาทและหน้าที่ของครู
ครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ครูที่ต้องการให้เด็กใช้ภาษาดีครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าอยากให้เด็กพูดครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องสนใจและห่วงใยเด็ก ครูต้องวางแผนการจัดประสบการณ์อย่างดี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาเหมือนการใช้ภาษาปกติในชีวิตประจำวันเพราะเด็กจะเรียนรู้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ครูปฐมวัยมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยการพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากตัวครูก่อน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการหรือวัยวุฒิ รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดูให้ถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดไปในทางที่ดีขึ้น เพราะครูมีบทบาทสําคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูสามารถทําให้เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างองค์รวมก่อน เช่น การเรียนรู้จากนิทานทั้งเรื่อง เด็กๆ จะเรียนรู้ว่าในหนึ่งเรื่องนี้มีหลายหน้าที่ครูเปิดอ่าน แต่ละหน้าจะประกอบด้วยกลุ่มคํา ย่อหน้า ประโยค คําและอักษร ซึ่งค่อยแยกย่อยลงไป เห็นวิธีการเรียงร้อยกันของประโยคในภาษาของเรา ที่ครูอ่านหรือพูดให้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างราบรื่น
Henrick (อ้างจาก นิตยา ประพฤติกิจ, 2539 , หน้า 162) เสนอแนะวิธีการพื้นฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กไว้ ดังนี้
1. รู้จักฟังเด็ก
2. ให้เด็กได้พูดคุยถึงเรื่องที่เขาได้พบเห็นหรือได้ฟังมา
3. รู้จักพูดคุยหรือสนทนากับเด็ก
4. รู้จักซักถามเพื่อให้เด็กได้ใช้ภาษากว้างขึ้น
5. ให้เด็กได้ฝึกฝนการฟัง
6. รับปรึกษาเมื่อเด็กมีปัญหา
7. ใฝ่หาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษา
ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาในทุกด้าน ก็คือ ครู ซึ่งจะมีหน้าที่จัดประสบการณ์ที่จะสร้างเสริม ฝึกฝนเด็ก ครูควรต้องยอมรับฟัง ตั้งใจฟัง ไม่มีอคติต่อการใช้ภาษาของเด็กแต่สิ่งที่ควรคิดถึงเสมอ คือ ครูไม่ใช่ผู้ป้อนความรู้ แต่ครูเป็นผู้จัดการความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็ก นภเนตร ธรรมบวร (2544, หน้า 139) กล่าวถึงบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมด้านภาษาไว้ดังนี้
1. ครูควรจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูดและการเขียน โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย วาดรูปและเล่าเรื่อง
2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้การเขียน และการอ่านในวิธีการที่มีความหมายกับเด็ก ครูควรเตรียมหนังสือและอุปกรณ์การเขียนไว้ในมุมในห้องเรียนเพื่อให้เด็กเล่นตามต้องการ
3. ครูควรกำหนดช่วงเวลาการอ่านให้แน่นอน โดยครูอาจพาเด็กไปห้องสมุดให้เด็กได้เลือกและยืมหนังสือเอง
4. ครูควรส่งเสริมให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารประเภทอื่นๆ นอกจากภาษาพูด เช่น ภาษาท่าทาง ดนตรี ศิลปะและภาษาเขียน ซึ่งภาษาเหล่านี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในเด็กปฐมวัย
5. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ตีความหมายและแก้ปัญหา โดยใช้นิทานเป็นเครื่องมือ นิทานเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าเสริมประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก
6. ในขณะอ่านหนังสือนิทานร่วมกันกับเด็ก ครูควรแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ ในนิทาน เพื่อให้ เด็กมีวงศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้น
7. ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการตกแต่งชั้นเรียนผ่านการใช้ภาษา เช่น ตกแต่งมุมห้อง ด้วยแผ่นป้ายที่เด็กเขียน รูปที่เด็กวาดทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ
8. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กลองผิดลองถูกในการใช้ภาษา อย่าบอกว่าผิด อย่าดุว่าหรือแก้ไข จะทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจและไม่กล้าพูดไม่กล้าเขียน
โดยสรุปการใช้ภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็ก ถ้าเด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับทักษะการใช้ภาษา เด็กก็จะสามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้น
4.การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการสอนภาษาตามธรรมชาติ
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยควรต้องทำทั้งระบบ นั่นคือนอกเหนือจากการเตรียมกิจกรรม เตรียมเนื้อหาสาระแล้ว ครูต้องเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และกิจกรรมตามแนวการสอนภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เริ่มต้นโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ ในเรื่องของประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มความสนใจดังนั้นการจัดห้องเรียนจึงควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษา ตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา
การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์สำหรับเด็กที่พูดภาษาถิ่น
ในเด็กที่พูดภาษาถิ่นในบ้าน เมื่อเข้ามาอยู่ในโรงเรียนการเรียนภาษาไทยเหมือนกับการเรียนภาษาที่สอง แต่สิ่งซึ่งไม่น่ากังวลใจสำหรับครูก็คือ การเรียนภาษาเป็นเรื่องธรรมชาติ เด็กเล็กเมื่อพบกันจะสื่อสารกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดภาษาเดียวกัน และเด็กพร้อมจะเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมๆ กับภาษาถิ่นซึ่งใช้อยู่ที่บ้านรวมทั้งภาษาที่ใช้อยู่จะไม่ปะปนกัน ไม่สับกัน เด็กไม่สนใจด้วยซ้ำว่าพูดภาษาอะไร แต่เขาจะรู้ว่าถ้าพูดกับครู เขาจะพูดด้วยภาษานี้ ถ้าพูดที่บ้านเขาจะพูดอีกอย่างหนึ่ง หรือถ้าไปพบคุณปู่คุณย่าจะต้องใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง
ผู้ใหญ่หลายคนไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของเด็ก ไม่แน่ใจว่าการสอนภาษาไปพร้อมๆ กันจะยากไปหรือไม่ เด็กจะรับไหวไหม ทั้งๆที่ในความเป็นจริงเด็กสามารถเรียนได้ทุกเรื่อง หากมีความสนใจ เมื่ออยู่ในห้องเรียนภาษา ครูอาจใช้ภาษากลางแต่ไม่มีความจำเป็นต้องบังคับว่าในห้องเรียนภาษาไทยพูดภาษาถิ่นไม่ได้ การเชื่อมโยงจากสิ่งที่รู้โดยเด็กรู้จักชื่อภาษาถิ่น นำมาเปรียบเทียบกับภาษาที่ครูสอนจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
สิ่งสำคัญครูอย่าพยายามยัดเยียด ดังที่บอกว่าอย่าห้ามใช้ภาษาถิ่นแล้วให้ใช้แต่ภาษาไทยกลาง มิฉะนั้นเด็กจะต่อต้านโดยแสดงอาการไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจและในที่สุดจะไม่เข้าใจจริงๆ
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:48:01 น. 0 comments
Counter : 1720 Pageviews.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
+ Emotion +
ver. 0.99 เอื้อเฟื้อโดย คุณยาจกน้อย
ประกาศผลโหวต
BlogGang Popular Award#4
[ประกาศผลโหวต]
kimmattic
Location :
My Network
[ดู Profile ทั้งหมด]
Rss Feed [?]
Bloggang.com
[Add kimmattic's blog to your weblog]
Bloggang.com
[ประกาศผลโหวต]
kimmattic
Location :
My Network
[ดู Profile ทั้งหมด]
Rss Feed [?]
Bloggang.com
[Add kimmattic's blog to your weblog]
Bloggang.com
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา
ทฤษฎีพัฒนาการด้านภาษา1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Autistic Theory)
ผู้คิดตั้งทฤษฎีนี้คือ โอ โฮบาร์ท โมว์เรอร์ (O.Hobart Mowrer ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวอเมริกันเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า Autistic Theory หรือ Autism Theory of Speech Acquisition เขาทดลองการสอนพูดกับนก และพบว่านกจะเลียนเสียงพูดของคนเฉพาะ เสียงหรือคำที่ผู้ฝึกพูดด้วยเวลาที่มันอิ่มหรือลูบไล้ด้วยความรักนอกจากนี้ คำเหล่านี้ยังทำให้นกเพลิดเพลิน และเป็นสุข การที่นกแก้ว นกขุนทอง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้หลาย ๆ เสียงนี่เอง จึงมีบางเสียงที่คล้ายคลึงกับเสียงที่ใช้ในภาษาพูดของมนุษย์ ที่แสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ดังนั้นเมื่อนกได้ยินเสียงที่ตัวมันเองเปล่งออกมาคล้ายคลึงกับเสียงที่นำความปิติมาให้ขณะกินอาหาร หรือถูกลูบไล้ด้วยความรัก มันจึงเลียนเสียงตามไปด้วย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะทำให้การเลียนเสียงของนกดีขึ้น จนสามารถพูดเป็นคำเป็นประโยคได้ เช่น “แก้วจ๋า กินข้าว” เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นลักษณะของการให้รางวัลแก่ตนเองคำว่า Autism คือการให้รางวัลแก่ตนเองในแง่ของกระบวนการ ที่ทำ
เขานำหลักการจากทฤษฎีมาใช้กับการเรียนรู้ของเด็ก ในการหัดพูดคำแรก และเชื่อว่าใช้ได้ เช่น แม่พูดคำว่า “แม่” หรือ “ลูก” เป็นพัน ๆ ครั้งขณะป้อนข้าว อาบน้ำ เล่น เห่กล่อมให้ จึงพบว่าบางครั้งเด็กก็เปล่งเสียง “แม่” ขณะเล่นเสียง และยิ่งคำพูดนี้ทำให้เด็กมีความรู้สึกปิติ ปลาบปลื้ม ก็จะยิ่งพูดซ้ำมากกว่าพยางค์หรือคำอื่นที่ไม่มีความหมายให้จดจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีนี้ทำให้เด็กพัฒนาการถ้อยคำที่ใช้ในภาษามากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กจะได้รับจากแม่ ส่วนในแง่ของปัญหาด้านความเข้าใจ ซึ่งมักมีผู้สงสัยนั้น ก็อธิบายได้ว่า ความหมายของเด็กอาจเกิดจากการโยงความสัมพันธ์ เช่น เมื่อพูด “แม่” แม่ก็ปรากฏตัว หรือเข้าใจความหมายคำว่า “ลูก” โดยชี้ให้ดูในกระจก
ทฤษฎีนี้จึงถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็ก เกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องมาจาก ความพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mowrer) เชื่อว่าความสามารถในการฟัง และ ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางการพูดนั้นเกิดขึ้นหลายทาง โดยอาศัยการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดได้จากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบใน การพัฒนาภาษาอย่างละเอียด คือ เลวิส (Lewis)
การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วง ความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก เพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำๆ กัน จึงทำให้เด็กมักพูดซ้ำ ๆ ในระยะการเล่นเสียง บางครั้งก็ใช้การเคาะโต๊ะ เคาะจังหวะไปด้วย เมื่อศึกษาถึงกระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูด ก็พบว่า จุดเริ่มต้นเกิดเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเด็กในระยะเล่นเสียง เช่น เด็กบังเอิญพูดย้ำพยางค์ คำว่า “แม่” เมื่อเสียงที่เด็กเปล่งออกมานั้นก่อให้เกิดความสนใจ เด็กก็จะกล่าวซ้ำอีกและเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แม่ปรากฏตัวเข้ามา เด็กจึงหยุดพูด แต่แม่อาจไม่สังเกตและอาจพูดกับลูกว่า “แม่หรือคะ” “หาแม่หรือคะ” นี่เองเท่ากับได้ไปเร้าความสนใจของเด็กขึ้นมาใหม่ เด็กก็ปรารถนาจะทำต่อไป อาจเปล่งเสียงคนเดียวซ้ำๆ กันก็ได้ ในขณะที่แม่อาจกระวีกระวาดไปเล่าให้พ่อฟังว่า ลูกเรียกแม่ได้แล้ว เมื่อใดที่เด็กสามารถใช้คำเพื่อการติดต่อได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ “แม่ มานี่” “แม่ อุ้มหน่อย” จึงจะถือว่าเด็กสามารถพูดคำแรกได้แล้ว ก้าวแรกในการสอนให้เด็กพูด ควรเป็นการเลียนแบบเสียงที่เด็กพูดในระยะการเล่นเสียง และอาจเร้าความสนใจด้วยการตบโต๊ะ เคาะจังหวะ เด็กจะได้หันมามอง การขัดจังหวะก็ควรทำก่อนเด็กจะหยุดกิจกรรม เช่น ขณะเด็กกำลังพูด ป้อป้อ ป้อซ้ำๆ พ่อแม่ก็เข้ามาขัดจังหวะทันทีที่เด็กพูด ป้อคำแรก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่เด็กพึงพอใจมากที่สุด และจะทำให้เด็กสนใจพูดต่อได้นานและดังกว่าเดิม ในระยะแรกก็ทำเพียง 2-3 เสียง แล้วทำให้เรียนรู้ความหมายไปด้วย เช่น เมื่อเด็กพูดคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” แม่หรือพ่อก็ควรเข้ามาปรากฏตัวและเมื่ออุ้มลูกขึ้นก็ควรพูดไปด้วย หัดให้ใช้คำนั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ผลสุดท้ายเด็กจะโยงความเข้าใจจากเสียงไปยังบุคคลและเข้าใจในความหมายได้
เด็กควรได้รับการฝึก จนกระทั่งมีคำตอบที่คงที่มีความหมายอยากพูดซ้ำๆ เมื่อพ่อแม่มาพูดหยอกเล่นด้วย ขณะที่เล่นเสียง พ่อแม่ควรใช้ระยะเงียบมาช่วยฝึกด้วย เช่น ช่วงว่างระหว่าง การทำเสียงอ้อแอ้ เด็กจะหยุดเงียบแม่อาจเร้าความสนใจเด็กใหม่โดยเร้าให้พูด “แม่ๆ” ถ้าเด็กตอบสนองด้วยการเลียนแบบก็ควรให้ฝึกต่อไป ขั้นถัดไปคือ การหัดพูดเป็นคำ ในการฝึกทั้งสองขั้นนี้ พ่อแม่จำต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมแล้วจะพบว่าเด็กใช้คำได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ หรือท่าทาง อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การหัดพูดครั้งแรกของเด็กได้มาโดยวิธีการของความสม่ำเสมอ ปกติเด็กคุ้นกับเสียง และท่าทางก่อนแล้ว เช่น “สวัสดี” “ไม่” หรือ “แม่” เด็กรู้จักคำมาก่อนนานแล้วเพียงแต่คอยความสม่ำเสมอ หรือ ความคงที่ของความหมายจากผู้ใหญ่ ท่าทางเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เด็กพูดคำแรกได้
สิ่งควรระลึกคือ การที่เด็กจะหัดพูดได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง หรือคำขอร้องซึ่งพ่อแม่มักชอบใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น “พูด…………..สิ” “พูด…………..ให้ถูกสิ” โดยเฉพาะคำที่พูดไม่ชัด นักแก้ไขการพูดรู้ดีว่าภาวะที่เหมาะในการหัดนั้นจะช่วยให้เด็กพูดได้ชัดได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกพูดคำแรกได้
3. ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory)
ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลังทฤษฎีของการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลด์ (Rheingold) พบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อให้รางวัลหรือเสริมกำลัง
เวสเบอร์ก ทอดด์ (Weissberg Todd ) ก็แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลทางสังคมทำให้เด็กอายุ 3 เดือน เปล่งเสียงมากขึ้น แต่พบว่าเฉพาะเสียงที่บ่งบอกความปิติยินดีไม่อาจทำให้เพิ่มการตอบสนองได้ เพราะเขาทดลองใช้เทปบันทึกเสียงแทนคน ปรากฏว่าไม่มีการตอบสนอง ตรงกันข้ามกับนกแก้วนกขุนทองที่สามารถวางเงื่อนไขด้วยจานเสียงหรือเทปก็ได้ เด็กนั้นต้องการตอบสนองจากผู้ใหญ่จริง ๆ
วินิทซ์ (Winitz) ได้อธิบายถึงการที่เด็กเกิดการรับรู้ในระยะการเล่นเสียงตอนต้นๆ ว่าเป็นการกระทำตามธรรมชาติของมนุษย์ ในการที่จะมีจุดหมายปลายทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กหิวก็เคลื่อนไหวปาก ซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่การดูดและการกินอาหาร ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็อาจใช้วิธีทำเสียงอ้อแอ้ โดยหวังว่าแม่จะเข้ามาหาและเล่นเสียงคุยตามไปด้วย ผู้ที่สังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะพอมองได้ว่า เมื่อใดเด็กร้องเพราะหิว แต่ก็ยากที่จะแยกแยะให้ตายตัวลงไปว่า เด็กหวังจะได้อาหารหรือหวังจะได้อะไรจากผู้ใหญ่ วินิทซ์ ได้อธิบายขั้นที่สองของพัฒนาการทางภาษาในด้านการให้รางวัลทางอ้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็ก กล่าวคือ เมื่อแม่ทำเสียงนำให้ลูกพร้อมกับการเอาอาหารมาให้ โดยเกือบจะพร้อมกันนั่นเอง เด็กจะหันศีรษะไปรับอาหาร และในขณะที่แม่เปล่งเสียงนั้นเด็กอาจทำกิริยาอย่างอื่นด้วย เช่น หันมามอง ยิ้ม จนบางครั้งแม้เมื่อไม่มีอาหารหากได้ยินเสียงแม่ ลูกก็จะมีพฤติกรรมเหมือนเดิม คือ หันศีรษะมาและยิ้มด้วย
การที่เสียงพูดของเด็กคล้ายคลึงกับเสียงแม่มากนั้น เขาอธิบายว่าเป็นเพราะการได้รับการเสริมกำลังจากเสียงของแม่ แล้วเปลี่ยนมาเป็นเสียงของเด็กเอง การเปล่งเสียงของแม่นั้นมักเกิดขึ้นก่อนและต่อเนื่องกับการเลี้ยงดูทารก ฉะนั้นเด็กจึงเลียนวิธีการออกเสียงด้วยวิธีนี้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเสียงแม่ปรากฏควบคู่กับการให้อาหาร ซึ่งจัดเป็นการเสริมกำลังโดยตรงอยู่แล้ว ก็เท่ากับช่วยให้เด็กพูดมากขึ้น ดังนั้นเด็กที่มีเสียงพูดเหมือนพ่อแม่มากก็คือ เด็กที่ได้รับการเสริมกำลังมากกว่าเด็กคนอื่นนั่นเอง ยิ่งพ่อแม่ตอบสนองอย่างเต็มอกเต็มใจ และร่าเริง เมื่อเด็กพูด “แม่-แม่” มากกว่าเมื่อพูดคำที่ไร้ความหมาย แล้วพยางค์นั้นก็จะยิ่งปรากฏบ่อยในการพูดของเด็ก เมื่ออายุราวๆ 1 ปี การเปล่งเสียงพยางค์ก็คล้ายคลึงกับพยางค์ที่มีความหมาย เช่น มม มม และสังเกตเห็นว่าแม่กระวีกระวาดเอาน้ำหรือนมที่เด็กต้องการมาให้ ก็จะทำให้พยางค์นั้นปรากฏบ่อยยิ่งขึ้น วิธีการแบบนี้เองที่เป็นการหัดพูด ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาการทางภาษาได้คล้ายคลึงกับการพูดของผู้ใหญ่
4. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception)
ในบางครั้ง เด็กจะพูดคำที่ไม่เคยพูดหรือไม่เคยถูกสอนให้พูดมาก่อนเลย แม้แต่ในระยะเล่นเสียงก็มิได้เปล่งเสียงที่คล้ายคลึงกับคำนั้น จึงสงสัยว่าเด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ทฤษฎีนี้ให้คำตอบในแง่นี้ คือ
ลีเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วยทำนองเดียวกับเด็กหูตึง การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง พูดซ้ำด้วยตนเองหรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:08:47 น. 1 comments
Counter : 674 Pageviews.
โดย: MONROVIA วันที่: 20 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:07:55 น.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
+ Emotion +
ver. 0.99 เอื้อเฟื้อโดย คุณยาจกน้อย
BlogGang Popular Award#4
[ประกาศผลโหวต]
kimmattic
Location :
My Network
[ดู Profile ทั้งหมด]
Rss Feed [?]
Bloggang.com
[Add kimmattic's blog to your weblog]
Bloggang.com
ผู้คิดตั้งทฤษฎีนี้คือ โอ โฮบาร์ท โมว์เรอร์ (O.Hobart Mowrer ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวอเมริกันเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า Autistic Theory หรือ Autism Theory of Speech Acquisition เขาทดลองการสอนพูดกับนก และพบว่านกจะเลียนเสียงพูดของคนเฉพาะ เสียงหรือคำที่ผู้ฝึกพูดด้วยเวลาที่มันอิ่มหรือลูบไล้ด้วยความรักนอกจากนี้ คำเหล่านี้ยังทำให้นกเพลิดเพลิน และเป็นสุข การที่นกแก้ว นกขุนทอง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้หลาย ๆ เสียงนี่เอง จึงมีบางเสียงที่คล้ายคลึงกับเสียงที่ใช้ในภาษาพูดของมนุษย์ ที่แสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ดังนั้นเมื่อนกได้ยินเสียงที่ตัวมันเองเปล่งออกมาคล้ายคลึงกับเสียงที่นำความปิติมาให้ขณะกินอาหาร หรือถูกลูบไล้ด้วยความรัก มันจึงเลียนเสียงตามไปด้วย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะทำให้การเลียนเสียงของนกดีขึ้น จนสามารถพูดเป็นคำเป็นประโยคได้ เช่น “แก้วจ๋า กินข้าว” เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นลักษณะของการให้รางวัลแก่ตนเองคำว่า Autism คือการให้รางวัลแก่ตนเองในแง่ของกระบวนการ ที่ทำ
เขานำหลักการจากทฤษฎีมาใช้กับการเรียนรู้ของเด็ก ในการหัดพูดคำแรก และเชื่อว่าใช้ได้ เช่น แม่พูดคำว่า “แม่” หรือ “ลูก” เป็นพัน ๆ ครั้งขณะป้อนข้าว อาบน้ำ เล่น เห่กล่อมให้ จึงพบว่าบางครั้งเด็กก็เปล่งเสียง “แม่” ขณะเล่นเสียง และยิ่งคำพูดนี้ทำให้เด็กมีความรู้สึกปิติ ปลาบปลื้ม ก็จะยิ่งพูดซ้ำมากกว่าพยางค์หรือคำอื่นที่ไม่มีความหมายให้จดจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีนี้ทำให้เด็กพัฒนาการถ้อยคำที่ใช้ในภาษามากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กจะได้รับจากแม่ ส่วนในแง่ของปัญหาด้านความเข้าใจ ซึ่งมักมีผู้สงสัยนั้น ก็อธิบายได้ว่า ความหมายของเด็กอาจเกิดจากการโยงความสัมพันธ์ เช่น เมื่อพูด “แม่” แม่ก็ปรากฏตัว หรือเข้าใจความหมายคำว่า “ลูก” โดยชี้ให้ดูในกระจก
ทฤษฎีนี้จึงถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็ก เกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องมาจาก ความพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mowrer) เชื่อว่าความสามารถในการฟัง และ ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางการพูดนั้นเกิดขึ้นหลายทาง โดยอาศัยการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดได้จากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบใน การพัฒนาภาษาอย่างละเอียด คือ เลวิส (Lewis)
การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วง ความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก เพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำๆ กัน จึงทำให้เด็กมักพูดซ้ำ ๆ ในระยะการเล่นเสียง บางครั้งก็ใช้การเคาะโต๊ะ เคาะจังหวะไปด้วย เมื่อศึกษาถึงกระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูด ก็พบว่า จุดเริ่มต้นเกิดเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเด็กในระยะเล่นเสียง เช่น เด็กบังเอิญพูดย้ำพยางค์ คำว่า “แม่” เมื่อเสียงที่เด็กเปล่งออกมานั้นก่อให้เกิดความสนใจ เด็กก็จะกล่าวซ้ำอีกและเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แม่ปรากฏตัวเข้ามา เด็กจึงหยุดพูด แต่แม่อาจไม่สังเกตและอาจพูดกับลูกว่า “แม่หรือคะ” “หาแม่หรือคะ” นี่เองเท่ากับได้ไปเร้าความสนใจของเด็กขึ้นมาใหม่ เด็กก็ปรารถนาจะทำต่อไป อาจเปล่งเสียงคนเดียวซ้ำๆ กันก็ได้ ในขณะที่แม่อาจกระวีกระวาดไปเล่าให้พ่อฟังว่า ลูกเรียกแม่ได้แล้ว เมื่อใดที่เด็กสามารถใช้คำเพื่อการติดต่อได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ “แม่ มานี่” “แม่ อุ้มหน่อย” จึงจะถือว่าเด็กสามารถพูดคำแรกได้แล้ว ก้าวแรกในการสอนให้เด็กพูด ควรเป็นการเลียนแบบเสียงที่เด็กพูดในระยะการเล่นเสียง และอาจเร้าความสนใจด้วยการตบโต๊ะ เคาะจังหวะ เด็กจะได้หันมามอง การขัดจังหวะก็ควรทำก่อนเด็กจะหยุดกิจกรรม เช่น ขณะเด็กกำลังพูด ป้อป้อ ป้อซ้ำๆ พ่อแม่ก็เข้ามาขัดจังหวะทันทีที่เด็กพูด ป้อคำแรก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่เด็กพึงพอใจมากที่สุด และจะทำให้เด็กสนใจพูดต่อได้นานและดังกว่าเดิม ในระยะแรกก็ทำเพียง 2-3 เสียง แล้วทำให้เรียนรู้ความหมายไปด้วย เช่น เมื่อเด็กพูดคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” แม่หรือพ่อก็ควรเข้ามาปรากฏตัวและเมื่ออุ้มลูกขึ้นก็ควรพูดไปด้วย หัดให้ใช้คำนั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ผลสุดท้ายเด็กจะโยงความเข้าใจจากเสียงไปยังบุคคลและเข้าใจในความหมายได้
เด็กควรได้รับการฝึก จนกระทั่งมีคำตอบที่คงที่มีความหมายอยากพูดซ้ำๆ เมื่อพ่อแม่มาพูดหยอกเล่นด้วย ขณะที่เล่นเสียง พ่อแม่ควรใช้ระยะเงียบมาช่วยฝึกด้วย เช่น ช่วงว่างระหว่าง การทำเสียงอ้อแอ้ เด็กจะหยุดเงียบแม่อาจเร้าความสนใจเด็กใหม่โดยเร้าให้พูด “แม่ๆ” ถ้าเด็กตอบสนองด้วยการเลียนแบบก็ควรให้ฝึกต่อไป ขั้นถัดไปคือ การหัดพูดเป็นคำ ในการฝึกทั้งสองขั้นนี้ พ่อแม่จำต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมแล้วจะพบว่าเด็กใช้คำได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ หรือท่าทาง อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การหัดพูดครั้งแรกของเด็กได้มาโดยวิธีการของความสม่ำเสมอ ปกติเด็กคุ้นกับเสียง และท่าทางก่อนแล้ว เช่น “สวัสดี” “ไม่” หรือ “แม่” เด็กรู้จักคำมาก่อนนานแล้วเพียงแต่คอยความสม่ำเสมอ หรือ ความคงที่ของความหมายจากผู้ใหญ่ ท่าทางเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เด็กพูดคำแรกได้
สิ่งควรระลึกคือ การที่เด็กจะหัดพูดได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง หรือคำขอร้องซึ่งพ่อแม่มักชอบใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น “พูด…………..สิ” “พูด…………..ให้ถูกสิ” โดยเฉพาะคำที่พูดไม่ชัด นักแก้ไขการพูดรู้ดีว่าภาวะที่เหมาะในการหัดนั้นจะช่วยให้เด็กพูดได้ชัดได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกพูดคำแรกได้
3. ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory)
ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลังทฤษฎีของการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลด์ (Rheingold) พบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อให้รางวัลหรือเสริมกำลัง
เวสเบอร์ก ทอดด์ (Weissberg Todd ) ก็แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลทางสังคมทำให้เด็กอายุ 3 เดือน เปล่งเสียงมากขึ้น แต่พบว่าเฉพาะเสียงที่บ่งบอกความปิติยินดีไม่อาจทำให้เพิ่มการตอบสนองได้ เพราะเขาทดลองใช้เทปบันทึกเสียงแทนคน ปรากฏว่าไม่มีการตอบสนอง ตรงกันข้ามกับนกแก้วนกขุนทองที่สามารถวางเงื่อนไขด้วยจานเสียงหรือเทปก็ได้ เด็กนั้นต้องการตอบสนองจากผู้ใหญ่จริง ๆ
วินิทซ์ (Winitz) ได้อธิบายถึงการที่เด็กเกิดการรับรู้ในระยะการเล่นเสียงตอนต้นๆ ว่าเป็นการกระทำตามธรรมชาติของมนุษย์ ในการที่จะมีจุดหมายปลายทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กหิวก็เคลื่อนไหวปาก ซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่การดูดและการกินอาหาร ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็อาจใช้วิธีทำเสียงอ้อแอ้ โดยหวังว่าแม่จะเข้ามาหาและเล่นเสียงคุยตามไปด้วย ผู้ที่สังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะพอมองได้ว่า เมื่อใดเด็กร้องเพราะหิว แต่ก็ยากที่จะแยกแยะให้ตายตัวลงไปว่า เด็กหวังจะได้อาหารหรือหวังจะได้อะไรจากผู้ใหญ่ วินิทซ์ ได้อธิบายขั้นที่สองของพัฒนาการทางภาษาในด้านการให้รางวัลทางอ้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็ก กล่าวคือ เมื่อแม่ทำเสียงนำให้ลูกพร้อมกับการเอาอาหารมาให้ โดยเกือบจะพร้อมกันนั่นเอง เด็กจะหันศีรษะไปรับอาหาร และในขณะที่แม่เปล่งเสียงนั้นเด็กอาจทำกิริยาอย่างอื่นด้วย เช่น หันมามอง ยิ้ม จนบางครั้งแม้เมื่อไม่มีอาหารหากได้ยินเสียงแม่ ลูกก็จะมีพฤติกรรมเหมือนเดิม คือ หันศีรษะมาและยิ้มด้วย
การที่เสียงพูดของเด็กคล้ายคลึงกับเสียงแม่มากนั้น เขาอธิบายว่าเป็นเพราะการได้รับการเสริมกำลังจากเสียงของแม่ แล้วเปลี่ยนมาเป็นเสียงของเด็กเอง การเปล่งเสียงของแม่นั้นมักเกิดขึ้นก่อนและต่อเนื่องกับการเลี้ยงดูทารก ฉะนั้นเด็กจึงเลียนวิธีการออกเสียงด้วยวิธีนี้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเสียงแม่ปรากฏควบคู่กับการให้อาหาร ซึ่งจัดเป็นการเสริมกำลังโดยตรงอยู่แล้ว ก็เท่ากับช่วยให้เด็กพูดมากขึ้น ดังนั้นเด็กที่มีเสียงพูดเหมือนพ่อแม่มากก็คือ เด็กที่ได้รับการเสริมกำลังมากกว่าเด็กคนอื่นนั่นเอง ยิ่งพ่อแม่ตอบสนองอย่างเต็มอกเต็มใจ และร่าเริง เมื่อเด็กพูด “แม่-แม่” มากกว่าเมื่อพูดคำที่ไร้ความหมาย แล้วพยางค์นั้นก็จะยิ่งปรากฏบ่อยในการพูดของเด็ก เมื่ออายุราวๆ 1 ปี การเปล่งเสียงพยางค์ก็คล้ายคลึงกับพยางค์ที่มีความหมาย เช่น มม มม และสังเกตเห็นว่าแม่กระวีกระวาดเอาน้ำหรือนมที่เด็กต้องการมาให้ ก็จะทำให้พยางค์นั้นปรากฏบ่อยยิ่งขึ้น วิธีการแบบนี้เองที่เป็นการหัดพูด ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาการทางภาษาได้คล้ายคลึงกับการพูดของผู้ใหญ่
4. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception)
ในบางครั้ง เด็กจะพูดคำที่ไม่เคยพูดหรือไม่เคยถูกสอนให้พูดมาก่อนเลย แม้แต่ในระยะเล่นเสียงก็มิได้เปล่งเสียงที่คล้ายคลึงกับคำนั้น จึงสงสัยว่าเด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ทฤษฎีนี้ให้คำตอบในแง่นี้ คือ
ลีเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วยทำนองเดียวกับเด็กหูตึง การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง พูดซ้ำด้วยตนเองหรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:08:47 น. 1 comments
Counter : 674 Pageviews.
โดย: MONROVIA วันที่: 20 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:07:55 น.
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
+ Emotion +
ver. 0.99 เอื้อเฟื้อโดย คุณยาจกน้อย
BlogGang Popular Award#4
[ประกาศผลโหวต]
kimmattic
Location :
My Network
[ดู Profile ทั้งหมด]
Rss Feed [?]
Bloggang.com
[Add kimmattic's blog to your weblog]
Bloggang.com
การพัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาทางภาษาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้
ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:10:54 น. 0 comments
Counter : 1044 Pageviews.
พัฒนาการภาษาพูด มีลำดับขั้น ตั้งแต่วัยทารก จนสิ้นสุดระยะวัยเด็กตอนต้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive Vocalization)
การใช้ภาษาของเด็กในระยะนี้ คือ ตั้งแต่คลอดถึงอายุหนึ่งเดือนครึ่ง เป็นแบบปฏิกิริยาสะท้อนเทียบเท่ากับภาษาหรือการสื่อความหมายของสัตว์ประเภทอื่นๆ เสียงนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่มีความหมายในขั้นแรก แต่เมื่ออายุราวหนึ่งเดือนล่วงแล้ว ทารกอาจเปล่งเสียงต่างกันได้ตามความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ง่วง หิว ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นเล่นเสียง (Babbling Stage)
อายุเฉลี่ยของทารกในขั้นนี้ ต่อจากขั้นที่ 1 จนถึงอายุราว 8 เดือน อวัยวะในการเปล่งเสียงและฟังของทารก เช่น ปาก ลิ้น หู เริ่มพัฒนามากขึ้น เป็นระยะที่ทารกได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตนเอง สนุกและสนใจลองเล่นเสียง (Vocal Play) ที่ตนได้ยิน โดยเฉพาะเสียงของตนเอง แต่เสียงที่เด็กเปล่งก็ไม่มีความหมายในเชิงภาษา ระยะนี้ทารกทุกชาติทำเสียงเหมือนกันหมด แม้เสียงที่เด็กเปล่งยังคงไม่เป็นภาษา แต่ก็มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการพูด เพราะเป็นระยะที่เด็กได้ลองทำเสียงต่างๆทุกชนิด เปรียบเสมือนการซ้อมเสียงซอของนักสีซอก่อนการเล่นซอที่แท้จริง
ขั้นที่ 3 ขั้นเลียนเสียง (Lalling Stage)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 9 เดือน เขาเริ่มสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น นอกจากเล่นเสียงของตนเอง ระยะนี้ประสาทรับฟังพัฒนามากยิ่งขึ้น จนสามารถจับเสียงผู้อื่นพูดได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ประสาทตาจับภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากได้แล้ว จึงรู้จักและสนุกที่จะเลียนเสียงผู้อื่น ระยะนี้เขาเลียนเสียงของตัวเองน้อยลง การเลียนเสียงผู้อื่นยังผิดๆถูกๆและยังไม่สู้จะเข้าใจความหมายของเสียงที่เปล่งเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กหูหนวกไม่สามารถพัฒนาทางด้านภาษามาถึงขั้นนี้ ขั้นนี้เป็นระยะที่ทารกเริ่มพูดภาษาแม่ของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น (Echolalia)
ระยะนี้ทารกอายุประมาณ 1 ขวบ ยังคงเลียนเสียงผู้ที่แวดล้อมเขา และทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เลียนเสียงตัวเองน้อยลง แต่ยังรู้ความหมายของเสียงไม่แจ่มแจ้งนัก
ขั้นที่ 5 ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน (True Speech)
ระยะนี้ทารกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ความจำ การใช้เหตุผล การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทารกได้รู้เห็นพัฒนาขึ้นแล้ว เช่น เมื่อเปล่งเสียง “แม่” ก็รู้ว่าคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่อุ้มชูดูแลตน การพัฒนามาถึงขั้นนี้เป็นไปอย่างบังเอิญ (ไม่ได้จงใจ) แต่ต่อมาจากการได้รับการตอบสนองที่พอใจและไม่พอใจ ทำให้การเรียนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายก้าวหน้าสืบไป
ในระยะแรก เด็กจะพูดคำเดียวก่อน ต่อมาจึงจะอยู่ในรูปวลีและรูปของประโยค ตั้งแต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไปจนถึงถูกหลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ นักภาษาศาสตร์ได้ทำ การวิจัยทางเด็กที่พูดภาษาต่างๆทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาการทางภาษาตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงห้าข้างต้นอยู่ในระยะวัยทารก ส่วนระยะที่เด็กเข้าใจภาษาและใช้ภาษาได้อย่างอัตโนมัติเหมือนผู้ใหญ่นั้น อยู่ในระยะเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยนั่นเอง ซึ่งพัฒนาการทางภาษาที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของประโยค ยิ่งเด็กโตขึ้นก็จะยิ่งสามารถพูดได้ประโยคยาวขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถทางการใช้ภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ หากจะพิจารณารูปแบบของพัฒนาการทางภาษาในรูปแบบเชิงพฤติกรรม สามารถอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้เป็น 7 ระยะ ดังนี้ คือ
1. ระยะเปะปะ (Random Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ในระยะนี้พบว่าเด็กมี
การเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย
2. ระยะแยกแยะ (Jergon Stage) อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ในระยะนี้เด็กจะเริ่มแยกแยะ
เสียงที่เขาได้ยินในสภาพแวดล้อมและแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียงแล้วได้รับการตอบสนองทางบวก
3. ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage) อายุ 1 ถึง 2 ปี เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ
เสียงของเด็กที่เปล่งจะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น
4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion) อายุ 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดพูดเป็น
คำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนาม เรียกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน
5. ระยะโครงสร้าง (Structure Stage) อายุ 4 ถึง 5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัย
นี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง และนำมาทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การฟังนิทาน ดูรายการโทรทัศน์ เป็นต้น
6. ระยะตอบสนอง (Responding Stage) อายุ 5 ถึง 6 ปี พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
วัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยคอย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษามีแบบแผนมากขึ้น
7. ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage) อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป เด็กจะพัฒนา
ความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน หรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้
ระยะของพัฒนาการทางภาษาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่เด็กจะสามารถพูดคำแรกออกมา เช่น “แม่” “ป้อ” ฯ จนกระทั่งสามารถพูดเป็นประโยคได้นั้น เด็กต้องผ่านกระบวนการสำคัญของพัฒนาการหลายขั้นตอน ทักษะทางภาษาขั้นแรกของเด็ก คือ การร้องไห้ แม้ว่าระยะแรกเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นช่วงเวลาของการสูญเปล่า แต่เด็กกำลังฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้นให้ทำงานประสานกัน สังเกตเห็นได้จากทารกแบเบาะจะอ้าปาก ขยับปากบ่อยครั้ง รวมถึงแลบลิ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพูดในอนาคต ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กก่อนการพูด คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งกระบวนการนี้ เด็กเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของชีวิต และเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน เด็กก็สามารถใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการทำเสียงต่างๆประกอบ จากนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ เป็นต้น
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2550 21:10:54 น. 0 comments
Counter : 1044 Pageviews.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)